วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558

คำศัพท์บทที่14

คำศัพท์บทที่14

1.human บุคคล

2.marketing ด้านการตลาด

3.financial ด้านการเงิน

4.accounting บัญชี

5.systems ระบบ

6.business ธุรกิจ

7.resource ทรัพยากร

8.Management การจัดการ

9.Information สารสนเทศ

10.Data ข้อมูล

บทที่14 องค์กรและการจัดการไร้พรมแดงของเทคโนโลยีสารสนเทศ เรื่องที่2 การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ

เรื่องที่2 การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ






ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems – MIS) 

ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ หมายถึง ระบบที่รวบรวมสารสนเทศ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานขององค์กรให้กับผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหารเพื่อสนับสนุนภารกิจที่รับผิดชอบ โดยใช้เทคโนโลยีและอุปกรณ์สมัยใหม่เพื่อสร้างสารสนเทศที่มีประโยชน์ต่อผู้ใช้ เพื่อให้การดำเนินงานขององค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งปัจจุบันขอบเขตการทำงานของระบบสารสนเทศขยายตัวจากการรวบรวมข้อมูลที่มาจากภายในองค์กรไปสู่การเชื่อมโยงกับแหล่งข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมภายนอกทั้งจากภายในท้องถิ่น ประเทศและระหว่างประเทศ กล่าวคือ ระบบสารสนเทศจะเกี่ยวข้องโดยตรงกับองค์การ การจัดการและเทคโนโลยี

ระบบสารสนเทศ (Information Systems) หมายถึง ระบบงานที่ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล การจัดทำสารสนเทศ และการสนับสนุนสารสนเทศให้แก่บุคคลหรือหน่วยงานต่าง ๆ ภายในองค์การที่ต้องการใช้



ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงได้ถูกเก็บรวบรวมมาโดยที่ยังไม่ได้ผ่านกระบวนการวิเคราะห์ เช่น การบันทึกข้อมูลยอดขายสินค้าแต่ละวัน สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลที่ได้ผ่านกระบวนการประมวลผล หรือจัดระบบแล้ว เพื่อให้มีความหมายและคุณค่าสำหรับผู้ใช้ เช่น - ปริมาณการขายสินค้าแต่ละตัว - จำแนกตามเขตการขาย






















บทที่14 องค์กรและการจัดการไร้พรมแดงของเทคโนโลยีสารสนเทศ เรื่องที่1 ธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ

 เรื่องที่1 ธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ







ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ
                ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ (business information systems) เป็นระบบสารสนเทศที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อสนับสนุนให้การดำเนินงานของธุรกิจให้ ดำเนินการอย่างเป็นระบบ โดยถูกออกแบบและพัฒนาให้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ทางธุรกิจ ตลอดจนช่วยส่งเสริมให้ทั้งองค์การ สามารถประสานงานและใช้ข้อมูลร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพทั้งในระดับปฏิบัติ งานและระดับบริหาร โดยเราสามารถจำแนกระบบสารสนเทศตามหน้าที่ทางธุรกิจตามหน้าที่ดังต่อไปนี้
1.  ระบบสารสนเทศด้านการบัญชี (accounting information system)
2.  ระบบสารสนเทศด้านการเงิน (financial information system)
3.  ระบบสารสนเทศด้านการตลาด (marketing information system)
4.  ระบบสารสนเทศด้านการผลิตและการดำเนินงาน (production and operations information system)
5.  ระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรบุคคล (human resource information system)



คำศัพท์บทที่13


1.Intellectual  ทรัพย์สิน

2.Property ทางปัญญ

3.Crime  อาชญากรรม

4.Cyber-Crime  อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์

5.Ethical จริยธรรม

6.Challenges  ความท้าทาย

7.Security  ความปลอดภัย

8.Stakeholders  ส่วนได้ส่วนเสีย

9.man  บุคคล

10.System  ระบบ

บทที่13 ความปลอดภัยและความท้าทายด้านจริยธรรม(Security Ethical Challenges) เรื่องที่2 ความรับผิดชอบด้านจริยธรรมของผู้เป็นมืออาชีพทางธุรกิจ

เรื่องที่2 ความรับผิดชอบด้านจริยธรรมของผู้เป็นมืออาชีพทางธุรกิจ







องค์การที่ประสบความสำเร็จประการหนึ่งจะดูได้จากผลตอบแทน ได้แก่ “กำไร” ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นต่อความเป็นอยู่ขององค์การ เพราะกำไรทำให้องค์การได้รับผลตอบแทนจากการลงทุน ผู้ถือหุ้นมีความมั่นใจ พนักงานมีความมั่นคงในการทำงาน ลูกค้าจะได้รับสินค้าและบริการที่ตรงกับความต้องการและรัฐก็ได้ภาษี ซึ่งถ้ามองในทรรศนะนี้แล้วองค์การจะอยู่ได้ก็เพราะกำไรเป็นผลตอบแทนจากการดำเนินกิจการ ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงสะท้อนให้เห็นถึงความรับผิดชอบขององค์การที่มีต่อสังคมเพียงพอหรือไม่ ถ้ายังไม่มีความรับผิดชอบควรอยู่ตรงจุดใด ซึ่งสังคมมิได้กล่าวถึงไว้ถ้าได้กล่าวถึงจริยธรรมทางธุรกิจ ซึ่งเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับค่านิยม และมาตรฐานเชิงพฤติกรรมที่องค์การใช้และแก้ไขปัญหาด้วยแล้วจะยิ่งหาจุดลงตัวได้ยากยิ่งขึ้น ถึงแม้ว่าผู้บริหารจะสามารถใช้ดุลพินิจวินิจฉัย แต่ในหลายๆ กรณีได้มีข้อถกเถียงว่าสิ่งใดคือสิ่งที่ถูกต้อง และสิ่งใดเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ทั้งนี้ เพราะสังคมของเราในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและซับซ้อนมากขึ้น

กระแสโลกาภิวัตน์ที่มีต่อจริยธรรม ความต้องการของสังคมที่มีต่อพฤติกรรมทางธุรกิจได้เปลี่ยนแปลงไป และมีการเรียกร้องให้การดำเนินกิจการต้องรับผิดชอบต่อสังคมมากยิ่งขึ้น ไม่ว่ากิจการจะใหญ่หรือเล็ก ก็ต้องทำการประเมินความรับผิดชอบที่กิจการของตนเองมีต่อสังคมใหม่ทั้งหมด ดั้งนั้น ผู้บริหารที่ตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคม จะต้องทำความเข้าใจกับสิ่งแวดล้อมอาชีวอนามัยและผลกระทบมากยิ่งขึ้น เพราะองค์การที่ได้รับการยอมรับในปัจจุบันไม่เพียงแต่จะต้องทำสิ่งที่ดีที่สุดให้กับกิจการของตนเองเท่านั้น แต่จะต้องทำสิ่งที่ดีที่สุดต่อสังคมอีกด้วย

การที่กระแสเรียกร้องของสังคมโลกที่มีจริยธรรมทางธุรกิจ และความรับผิดชอบต่อสังคมนั้น เนื่องมาจากการที่สังคมเปิดกว้างมากยิ่งขึ้นและถูกเชื่อมโยงเข้าหากันเป็นสังคมโลก การรับรู้ข่าวสารจากสื่อต่างๆ เปิดกว้างขึ้น พัฒนาการของสังคมและประเทศก้าวหน้าขึ้น สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดถูกทำลาย ดังนั้น กลุ่มและองค์การต่างๆ ที่อยู่ในแต่ละสังคม ต่างได้รับผลกระทบเพิ่มมากขึ้น จากความซับซ้อนและการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้กลายเป็นพลังผลักดันให้กิจกรรมต่างๆ ต้องพิจารณาถึง “ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย” (Stakeholders) ที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานขององค์การ และต้องพิจารณาถึงบทบาทและวิธีการที่จะเกี่ยวข้องกับบุคคล กลุ่มและองค์การดังกล่าว นอกจากนั้นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญๆ ในการพิจารณาถึงกรอบของจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคม






















บทที่13 ความปลอดภัยและความท้าทายด้านจริยธรรม(Security Ethical Challenges) เรื่องที่1 อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์

เรื่องที่1 อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์







อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Cyber-Crime) เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อโจมตีระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูลที่อยู่บนระบบดังกล่าว ส่วนในมุมมองที่กว้างขึ้น “อาชญากรรมที่เกี่ยวเนื่องกับคอมพิวเตอร์” หมายถึงการกระทำที่ผิดกฎหมายใดๆ ซึ่งอาศัยหรือมีความเกี่ยวเนื่องกับระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย อย่างไรก็ตาม อาชญากรรมประเภทนี้ไม่ถือเป็นอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์โดยตรง

ในการประชุมสหประชาชาติครั้งที่ 10 ว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิด (The Tenth United Nations Congress on the Prevention of Crime and the Treatment of Offenders) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเวียนนา เมื่อวันที่ 10-17 เมษายน 2543 ได้มีการจำแนกประเภทของอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ โดยแบ่งเป็น 5 ประเภท คือ การเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต, การสร้างความเสียหายแก่ข้อมูลหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์, การก่อกวนการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย, การยับยั้งข้อมูลที่ส่งถึง/จากและภายในระบบหรือเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต และการจารกรรมข้อมูลบนคอมพิวเตอร์

โครงการอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์และการโจรกรรมทรัพย์สินทางปัญญา (Cyber-Crime and Intellectual Property Theft) พยายามที่จะเก็บรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูล และค้นคว้าเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ 6 ประเภท ที่ได้รับความนิยม ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อประชาชนและผู้บริโภค นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับขอบเขตและความซับซ้อนของปัญหา รวมถึงนโยบายปัจจุบันและความพยายามในการปัญหานี้