วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558

บทที่13 ความปลอดภัยและความท้าทายด้านจริยธรรม(Security Ethical Challenges) เรื่องที่2 ความรับผิดชอบด้านจริยธรรมของผู้เป็นมืออาชีพทางธุรกิจ

เรื่องที่2 ความรับผิดชอบด้านจริยธรรมของผู้เป็นมืออาชีพทางธุรกิจ







องค์การที่ประสบความสำเร็จประการหนึ่งจะดูได้จากผลตอบแทน ได้แก่ “กำไร” ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นต่อความเป็นอยู่ขององค์การ เพราะกำไรทำให้องค์การได้รับผลตอบแทนจากการลงทุน ผู้ถือหุ้นมีความมั่นใจ พนักงานมีความมั่นคงในการทำงาน ลูกค้าจะได้รับสินค้าและบริการที่ตรงกับความต้องการและรัฐก็ได้ภาษี ซึ่งถ้ามองในทรรศนะนี้แล้วองค์การจะอยู่ได้ก็เพราะกำไรเป็นผลตอบแทนจากการดำเนินกิจการ ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงสะท้อนให้เห็นถึงความรับผิดชอบขององค์การที่มีต่อสังคมเพียงพอหรือไม่ ถ้ายังไม่มีความรับผิดชอบควรอยู่ตรงจุดใด ซึ่งสังคมมิได้กล่าวถึงไว้ถ้าได้กล่าวถึงจริยธรรมทางธุรกิจ ซึ่งเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับค่านิยม และมาตรฐานเชิงพฤติกรรมที่องค์การใช้และแก้ไขปัญหาด้วยแล้วจะยิ่งหาจุดลงตัวได้ยากยิ่งขึ้น ถึงแม้ว่าผู้บริหารจะสามารถใช้ดุลพินิจวินิจฉัย แต่ในหลายๆ กรณีได้มีข้อถกเถียงว่าสิ่งใดคือสิ่งที่ถูกต้อง และสิ่งใดเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ทั้งนี้ เพราะสังคมของเราในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและซับซ้อนมากขึ้น

กระแสโลกาภิวัตน์ที่มีต่อจริยธรรม ความต้องการของสังคมที่มีต่อพฤติกรรมทางธุรกิจได้เปลี่ยนแปลงไป และมีการเรียกร้องให้การดำเนินกิจการต้องรับผิดชอบต่อสังคมมากยิ่งขึ้น ไม่ว่ากิจการจะใหญ่หรือเล็ก ก็ต้องทำการประเมินความรับผิดชอบที่กิจการของตนเองมีต่อสังคมใหม่ทั้งหมด ดั้งนั้น ผู้บริหารที่ตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคม จะต้องทำความเข้าใจกับสิ่งแวดล้อมอาชีวอนามัยและผลกระทบมากยิ่งขึ้น เพราะองค์การที่ได้รับการยอมรับในปัจจุบันไม่เพียงแต่จะต้องทำสิ่งที่ดีที่สุดให้กับกิจการของตนเองเท่านั้น แต่จะต้องทำสิ่งที่ดีที่สุดต่อสังคมอีกด้วย

การที่กระแสเรียกร้องของสังคมโลกที่มีจริยธรรมทางธุรกิจ และความรับผิดชอบต่อสังคมนั้น เนื่องมาจากการที่สังคมเปิดกว้างมากยิ่งขึ้นและถูกเชื่อมโยงเข้าหากันเป็นสังคมโลก การรับรู้ข่าวสารจากสื่อต่างๆ เปิดกว้างขึ้น พัฒนาการของสังคมและประเทศก้าวหน้าขึ้น สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดถูกทำลาย ดังนั้น กลุ่มและองค์การต่างๆ ที่อยู่ในแต่ละสังคม ต่างได้รับผลกระทบเพิ่มมากขึ้น จากความซับซ้อนและการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้กลายเป็นพลังผลักดันให้กิจกรรมต่างๆ ต้องพิจารณาถึง “ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย” (Stakeholders) ที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานขององค์การ และต้องพิจารณาถึงบทบาทและวิธีการที่จะเกี่ยวข้องกับบุคคล กลุ่มและองค์การดังกล่าว นอกจากนั้นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญๆ ในการพิจารณาถึงกรอบของจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคม






















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น