วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558

คำศัพท์บทที่14

คำศัพท์บทที่14

1.human บุคคล

2.marketing ด้านการตลาด

3.financial ด้านการเงิน

4.accounting บัญชี

5.systems ระบบ

6.business ธุรกิจ

7.resource ทรัพยากร

8.Management การจัดการ

9.Information สารสนเทศ

10.Data ข้อมูล

บทที่14 องค์กรและการจัดการไร้พรมแดงของเทคโนโลยีสารสนเทศ เรื่องที่2 การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ

เรื่องที่2 การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ






ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems – MIS) 

ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ หมายถึง ระบบที่รวบรวมสารสนเทศ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานขององค์กรให้กับผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหารเพื่อสนับสนุนภารกิจที่รับผิดชอบ โดยใช้เทคโนโลยีและอุปกรณ์สมัยใหม่เพื่อสร้างสารสนเทศที่มีประโยชน์ต่อผู้ใช้ เพื่อให้การดำเนินงานขององค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งปัจจุบันขอบเขตการทำงานของระบบสารสนเทศขยายตัวจากการรวบรวมข้อมูลที่มาจากภายในองค์กรไปสู่การเชื่อมโยงกับแหล่งข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมภายนอกทั้งจากภายในท้องถิ่น ประเทศและระหว่างประเทศ กล่าวคือ ระบบสารสนเทศจะเกี่ยวข้องโดยตรงกับองค์การ การจัดการและเทคโนโลยี

ระบบสารสนเทศ (Information Systems) หมายถึง ระบบงานที่ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล การจัดทำสารสนเทศ และการสนับสนุนสารสนเทศให้แก่บุคคลหรือหน่วยงานต่าง ๆ ภายในองค์การที่ต้องการใช้



ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงได้ถูกเก็บรวบรวมมาโดยที่ยังไม่ได้ผ่านกระบวนการวิเคราะห์ เช่น การบันทึกข้อมูลยอดขายสินค้าแต่ละวัน สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลที่ได้ผ่านกระบวนการประมวลผล หรือจัดระบบแล้ว เพื่อให้มีความหมายและคุณค่าสำหรับผู้ใช้ เช่น - ปริมาณการขายสินค้าแต่ละตัว - จำแนกตามเขตการขาย






















บทที่14 องค์กรและการจัดการไร้พรมแดงของเทคโนโลยีสารสนเทศ เรื่องที่1 ธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ

 เรื่องที่1 ธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ







ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ
                ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ (business information systems) เป็นระบบสารสนเทศที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อสนับสนุนให้การดำเนินงานของธุรกิจให้ ดำเนินการอย่างเป็นระบบ โดยถูกออกแบบและพัฒนาให้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ทางธุรกิจ ตลอดจนช่วยส่งเสริมให้ทั้งองค์การ สามารถประสานงานและใช้ข้อมูลร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพทั้งในระดับปฏิบัติ งานและระดับบริหาร โดยเราสามารถจำแนกระบบสารสนเทศตามหน้าที่ทางธุรกิจตามหน้าที่ดังต่อไปนี้
1.  ระบบสารสนเทศด้านการบัญชี (accounting information system)
2.  ระบบสารสนเทศด้านการเงิน (financial information system)
3.  ระบบสารสนเทศด้านการตลาด (marketing information system)
4.  ระบบสารสนเทศด้านการผลิตและการดำเนินงาน (production and operations information system)
5.  ระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรบุคคล (human resource information system)



คำศัพท์บทที่13


1.Intellectual  ทรัพย์สิน

2.Property ทางปัญญ

3.Crime  อาชญากรรม

4.Cyber-Crime  อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์

5.Ethical จริยธรรม

6.Challenges  ความท้าทาย

7.Security  ความปลอดภัย

8.Stakeholders  ส่วนได้ส่วนเสีย

9.man  บุคคล

10.System  ระบบ

บทที่13 ความปลอดภัยและความท้าทายด้านจริยธรรม(Security Ethical Challenges) เรื่องที่2 ความรับผิดชอบด้านจริยธรรมของผู้เป็นมืออาชีพทางธุรกิจ

เรื่องที่2 ความรับผิดชอบด้านจริยธรรมของผู้เป็นมืออาชีพทางธุรกิจ







องค์การที่ประสบความสำเร็จประการหนึ่งจะดูได้จากผลตอบแทน ได้แก่ “กำไร” ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นต่อความเป็นอยู่ขององค์การ เพราะกำไรทำให้องค์การได้รับผลตอบแทนจากการลงทุน ผู้ถือหุ้นมีความมั่นใจ พนักงานมีความมั่นคงในการทำงาน ลูกค้าจะได้รับสินค้าและบริการที่ตรงกับความต้องการและรัฐก็ได้ภาษี ซึ่งถ้ามองในทรรศนะนี้แล้วองค์การจะอยู่ได้ก็เพราะกำไรเป็นผลตอบแทนจากการดำเนินกิจการ ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงสะท้อนให้เห็นถึงความรับผิดชอบขององค์การที่มีต่อสังคมเพียงพอหรือไม่ ถ้ายังไม่มีความรับผิดชอบควรอยู่ตรงจุดใด ซึ่งสังคมมิได้กล่าวถึงไว้ถ้าได้กล่าวถึงจริยธรรมทางธุรกิจ ซึ่งเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับค่านิยม และมาตรฐานเชิงพฤติกรรมที่องค์การใช้และแก้ไขปัญหาด้วยแล้วจะยิ่งหาจุดลงตัวได้ยากยิ่งขึ้น ถึงแม้ว่าผู้บริหารจะสามารถใช้ดุลพินิจวินิจฉัย แต่ในหลายๆ กรณีได้มีข้อถกเถียงว่าสิ่งใดคือสิ่งที่ถูกต้อง และสิ่งใดเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ทั้งนี้ เพราะสังคมของเราในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและซับซ้อนมากขึ้น

กระแสโลกาภิวัตน์ที่มีต่อจริยธรรม ความต้องการของสังคมที่มีต่อพฤติกรรมทางธุรกิจได้เปลี่ยนแปลงไป และมีการเรียกร้องให้การดำเนินกิจการต้องรับผิดชอบต่อสังคมมากยิ่งขึ้น ไม่ว่ากิจการจะใหญ่หรือเล็ก ก็ต้องทำการประเมินความรับผิดชอบที่กิจการของตนเองมีต่อสังคมใหม่ทั้งหมด ดั้งนั้น ผู้บริหารที่ตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคม จะต้องทำความเข้าใจกับสิ่งแวดล้อมอาชีวอนามัยและผลกระทบมากยิ่งขึ้น เพราะองค์การที่ได้รับการยอมรับในปัจจุบันไม่เพียงแต่จะต้องทำสิ่งที่ดีที่สุดให้กับกิจการของตนเองเท่านั้น แต่จะต้องทำสิ่งที่ดีที่สุดต่อสังคมอีกด้วย

การที่กระแสเรียกร้องของสังคมโลกที่มีจริยธรรมทางธุรกิจ และความรับผิดชอบต่อสังคมนั้น เนื่องมาจากการที่สังคมเปิดกว้างมากยิ่งขึ้นและถูกเชื่อมโยงเข้าหากันเป็นสังคมโลก การรับรู้ข่าวสารจากสื่อต่างๆ เปิดกว้างขึ้น พัฒนาการของสังคมและประเทศก้าวหน้าขึ้น สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดถูกทำลาย ดังนั้น กลุ่มและองค์การต่างๆ ที่อยู่ในแต่ละสังคม ต่างได้รับผลกระทบเพิ่มมากขึ้น จากความซับซ้อนและการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้กลายเป็นพลังผลักดันให้กิจกรรมต่างๆ ต้องพิจารณาถึง “ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย” (Stakeholders) ที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานขององค์การ และต้องพิจารณาถึงบทบาทและวิธีการที่จะเกี่ยวข้องกับบุคคล กลุ่มและองค์การดังกล่าว นอกจากนั้นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญๆ ในการพิจารณาถึงกรอบของจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคม






















บทที่13 ความปลอดภัยและความท้าทายด้านจริยธรรม(Security Ethical Challenges) เรื่องที่1 อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์

เรื่องที่1 อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์







อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Cyber-Crime) เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อโจมตีระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูลที่อยู่บนระบบดังกล่าว ส่วนในมุมมองที่กว้างขึ้น “อาชญากรรมที่เกี่ยวเนื่องกับคอมพิวเตอร์” หมายถึงการกระทำที่ผิดกฎหมายใดๆ ซึ่งอาศัยหรือมีความเกี่ยวเนื่องกับระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย อย่างไรก็ตาม อาชญากรรมประเภทนี้ไม่ถือเป็นอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์โดยตรง

ในการประชุมสหประชาชาติครั้งที่ 10 ว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิด (The Tenth United Nations Congress on the Prevention of Crime and the Treatment of Offenders) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเวียนนา เมื่อวันที่ 10-17 เมษายน 2543 ได้มีการจำแนกประเภทของอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ โดยแบ่งเป็น 5 ประเภท คือ การเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต, การสร้างความเสียหายแก่ข้อมูลหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์, การก่อกวนการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย, การยับยั้งข้อมูลที่ส่งถึง/จากและภายในระบบหรือเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต และการจารกรรมข้อมูลบนคอมพิวเตอร์

โครงการอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์และการโจรกรรมทรัพย์สินทางปัญญา (Cyber-Crime and Intellectual Property Theft) พยายามที่จะเก็บรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูล และค้นคว้าเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ 6 ประเภท ที่ได้รับความนิยม ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อประชาชนและผู้บริโภค นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับขอบเขตและความซับซ้อนของปัญหา รวมถึงนโยบายปัจจุบันและความพยายามในการปัญหานี้





คำศัพท์บทที่12

คำศัพท์บทที่12


1.Business ธุรกิจ

2.Develop การพัฒนา

3.Object วัตถุ

4.Univers เอกภพ

5.Thinking ความคิด

6.Approach แนวคิด

7.Feedback ข้อมูลย้อนกลับ

8.Process กระบวนการ 

9.Input ปัจจัยนำเข้า

10.Output ผลผลิต

บทที่12 การพัฒนาธุรกิจ/วิธีแก้ปัญหาสารสนเทศ(Develop Business/IT Solution) เรื่องที่2 ระบบความคิด(Systems Thinking)

เรื่องที่2 ระบบความคิด







ระบบความคิด( Systems Thinking ) หมายถึง การคิดถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่มองภาพรวมอย่าง เป็นระบบ มีส่วนประกอบย่อยๆ โดยอาศัยการคิดในรูปแบบโดย ทางตรงและโดยทางอ้อม

ทฤษฎีระบบ ( Systems Theory ) ให้แนวคิดว่าแต่ละสิ่งย่อมอยู่ในเอกภพ (The Universe) สิ่งเล็ก / ใหญ่เพียงใดล้วนเป็นหนึ่งหน่วยระบบมีวงจรของการทำงาน มีปัจจัยนำเข้า ( ปัจจัยการผลิต ) กระบวนการ มี ผลผลิต นำไปสู่ผลลัพธ์อย่าง เป็นระบบ ผลผลิตรวมย่อมเกิดจากการประสานงานกันหลาย ๆ ระบบ แต่ละหน่วย มีระบบการทำงานตามบทบาทหน้าที่ที่แตกต่างกัน ผลผลิตจะไหลจาก หน่วยการผลิต (กระบวนการ ) หนึ่งไปสู่อีกหน่วยการผลิต หรือกระบวนการ หนึ่งอย่างครบวงจร ไม่มีที่สิ้นสุด แต่ละสิ่งในเอกภพมีความเป็นระบบตามมิติต่างๆ กัน ในเวลาเดียวกันการคิดเชิงระบบจึงเป็นการคิดที่มีความเข้าใจเชื่อมโยง มีความเชื่อในทฤษฎีระบบเป็นพื้นฐาน คนปกติมีความเข้าใจเกี่ยวกับระบบในสรรพสิ่งที่อยู่ในในโลกที่สอดคล้องกับทฤษฎีระบบอยู่แล้ว เพียงแต่ความสามารถใน การทำได้ดีในระดับที่แตกต่างกัน
การคิดระบบโดยทางตรงมุ่งกระทำโดยตรงมีเป้าหมายกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่จำแนก รูปแบบการคิดตามพื้นฐานของมนุษย์ แต่แยกรูปแบบการคิดโดยมุ่งที่เป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ โดยจำแนกออกเป็น 3 แบบ
การคิดเพื่อรู้เข้าใจหน่วยระบบ
การคิดเพื่อวิเคราะห์และประเมินหน่วยของระบบ
การคิดเพื่อออกแบบ และก่อตั้งหน่วยระบบ








บทที่12 การพัฒนาธุรกิจ/วิธีแก้ปัญหาสารสนเทศ(Develop Business/IT Solution) เรื่องที่1 แนวคิดเชิงระบบ(The Systems Approach)

เรื่องที่1 แนวคิดเชิงระบบ(The Systems Approach)





โดยทั่วไปเราจะรู้จักคุ้นเคยกับคำว่า “ระบบ” หรือคำในภาษาอังกฤษว่า “System” พอสมควรในทางวิทยาศาสตร์เราจะพูดถึงระบบสุริยะจักรวาล ระบบโมเลกุลในร่างกายมนุษย์ เรามีระบบหมุนเวียนของ โลหิต ระบบประสาท ระบบการขับถ่ายของเสียในร่างกายสำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน เราคุ้นเคยกับคำว่า ระบบการศึกษา ระบบโรงเรียนและระบบการเรียนการสอน เป็นต้น 
คำว่า “ระบบ” ไม่ว่าจะพูดในลักษณะใดก็ตาม จะหมายถึงสิ่งต่างๆที่รวมกัน ซึ่งแสดงถึงองค์ประกอบและความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบนั้นๆ อย่างชัดเจน องค์ประกอบของระบบแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังต่อไปนี้

1) องค์ประกอบในระบบ
ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน ดังนี้
1.1) ปัจจัยนำเข้า (Input) อาจได้แก่วัสดุ อุปกรณ์ วัตถุดิบ แรงงาน เงินทุน ทรัพยากรต่างๆ รวมไปถึงเวลาและสถานที่
1.2) กระบวนการ (Process) ได้แก่ เทคนิควิธี ขั้นตอนการดำเนินงานต่างๆ ตั้งแต่ต้นจนจบ
1.3) ผลที่ได้รับหรือผลผลิต (Output) เป็นผลที่ได้รับจากปัจจัยนำเข้าและกระบวนการทั้งหมด ผลผลิตเป็นสิ่งที่ต้องการในขั้นสุดท้ายของระบบ ผลผลิตอาจเป็นเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือหลายๆอย่างรวมกัน เช่น ในกระบวนการผลิตสินค้า ก็อาจหมายถึงการเพิ่มคุณภาพ การเพิ่มจำนวน การยืดอายุผลผลิต การเปลี่ยนรูปผลิตภัณฑ์ การลดต้นทุน การผลิต การลดต้นทุนการขนส่ง ลดอุบัติเหตุ หรือการเปลี่ยนแปลงในด้านดี อื่นๆ เป็นต้น

ในระบบจะต้องมีการตรวจสอบอยู่ทุกขั้นตอน เรียกว่า Feedback หรือข้อมูลย้อนกลับ ซึ่งเป็นการบอกให้รู้ว่าแต่ละขั้นตอนดี หรือไม่ดีเพียงใด อย่างใด ตัวอย่างเช่น ในกรรมวิธีการผลิต ถ้าในด้านปัจจัยนำเข้าหรือ Input ต้องมีการตรวจสอบดูว่าวัตถุดิบที่ใช้ มีคุณภาพตรงตามความต้องการหรือไม่ อาจรวมไปถึงกรรมวิธีในการสั่งซื้อวัตถุดิบ การเก็บรักษา การขนส่ง เป็นต้น ในด้านกระบวนการผลิตอาจจะต้องตรวจสอบดูสูตรการผลิต การทำงานของเครื่องจักร การแบ่งหน้าที่ทำงาน การมอบหมายความรับผิดชอบ วิธีสั่งการ การควบคุม การรายงานเป็นต้น สำหรับด้านผลผลิตนั้นต้องตรวจสอบดูว่าผลผลิตที่ได้ มีปริมาณและคุณภาพตรงกับความต้องการหรือไม่ ตรงกับความต้องการของตลาดแล้วหรือยัง ยังมีส่วนจะต้องปรับปรุง พัฒนาขึ้นอย่างไร ดังนี้เป็นต้น

2) องค์ประกอบที่อยู่นอกระบบ
โดยทั่วไปมักมีองค์ประกอบอื่นที่อยู่นอกระบบ ส่งผลต่อประสิทธิภาพของระบบที่สำคัญ 3 ประการ ดังนี้
2.1) ทรัพยากร ได้แก่ ปัจจัยด้านมนุษย์ เงิน วัสดุ ทรัพยากรธรรมชาติ เป็นต้น
2.2) ความคาดหวัง ได้แก่ ความคาดหวังของผู้ผลิต ของลูกค้า พ่อค้า รัฐบาล ชุมชน ตลอดจนประชาชนทั่วไป
2.3) สภาพแวดล้อม เช่น ภาวะการตลาด ภาวะเศรษฐกิจ เทคโนโลยี การปกครอง การเมือง และสังคม เป็นต้น

ความสำคัญของการนำแนวคิดเชิงระบบไปใช้ในการปฏิบัติงาน
1) แนวคิดเชิงระบบเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้สามารถกำหนดกรอบการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถมองเห็น กระบวนการทำงานทั้งหมดตั้งแต่ต้นจนจบ
2) ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม เนื่องจากสามารถสื่อสารกระบวนการทำงานทุกขั้นตอนกับทีมงาน ได้กระจ่างชัด ซึ่งทำให้สามารถอธิบาย หรือแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆในมุมมองที่กว้าง
3) ทำให้มองเห็นสิ่งที่เกิดขึ้น หรือสิ่งที่กำลังปฏิบัติอยู่ ความผิดพลาดต่างๆที่เกิดจากระบบ จะทำให้สามารถมองเห็นได้ชัดเจนและหาวิธีแก้ไขได้ถูกต้องทันท่วงที ซึ่งเป็นผลดีทั้งในระยะสั้นและระยาว
4) ทำให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ คือ มีความถูกต้อง ประหยัดค่าใช้จ่าย ทันตามเวลาที่กำหนดและสอดคล้องกับเป้าหมายที่กำหนดไว้




คำศัพท์บทที่11


1.Planning  การวางแผน

2.Formality  ความเป็นพิธีการ

3.Time Span  ระยะเวลาของแผน

4.Flexibility  ความยืดหยุ่น

5.Specificity  ความชัดเจน

6.Comprehensiveness  ความครอบคลุม

7.Relevance  ความสอดคล้อง

8.Future Oriented  ความมุ่งอนาคต

9.Rationality  ความมีเหตุมีผล

10.Threat  ภัยคักคาม

บทที่11 การพัฒนาธุรกิจ/กลยุทธ์เทคโนโลยีสารสนเทศ เรื่องที่2 การวิเคราะห์สว๊อท

 เรื่องที่2 การวิเคราะห์สว๊อท



การวิเคราะห์สถานการณ์ 
มีประเด็นที่ประกอบด้วย จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภัยคุกคาม (SWOT = Strength, Weakness, Opportunity และ Threat) คือ การสำรวจตรวจสอบสภาพภายในองค์การและสภาพแวดล้อมภายนอก เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการวางแผน เพื่อให้แผนนั้นได้ใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่และแก้ปัญหาที่ไม่พึงประสงค์ โดยอาศัยทั้งปัจจัยจากภายในและภายนอกมาเป็นฐานคิดสำหรับกำหนดแผนงานโครงการ
ปัจจัยภายใน ประกอบด้วย จุดแข็ง (Strength) และจุดอ่อน (Weakness)

จุดแข็ง หมายถึง สิ่งที่มีอยู่เองแล้วโดยพิจารณาจากความสำเร็จในมิติต่าง ๆ เช่น ทำเลที่ตั้ง ฐานะทางการเงิน ความสามารถของบุคลากร ความเป็นทีม คุณภาพบริการ ประเพณีวัฒนธรรม แหล่งท่องเที่ยว เป็นต้น
จุดอ่อน หมายถึง สิ่งที่มีอยู่เองแล้วโดยพิจารณาจากปัญหาหรืออุปสรรคในมิติต่าง ๆ เช่น ระเบียบกฎเกณฑ์ ขั้นตอนที่ซับซ้อน การเริ่มต้นใหม่ ความหลากหลายของคน เป็นต้น
ปัจจัยภายนอก ประกอบด้วย โอกาส (Opportunity) และภัยคุกคาม (Threat)

โอกาส หมายถึง สิ่งที่อยู่ภายนอกโดยพิจารณาถึงความเป็นประโยชน์หรือสนับสนุนเป้าหมายของชุมชน เช่น การเมือง การรวมการปกครอง กฎหมาย ราคาน้ำมัน ค่าเงินบาท คู่แข่ง เป็นต้น
ภัยคุกคาม หมายถึง สิ่งที่อยู่ภายนอกโดยพิจารณาว่าเป็นอุปสรรคต่อเป้าหมายของชุมชน เช่น การเมือง การรวมการปกครอง กฎหมาย ราคาน้ำมัน ค่าเงินบาท คู่แข่ง เป็นต้น













บทที่11 การพัฒนาธุรกิจ/กลยุทธ์เทคโนโลยีสารสนเทศ เรื่องที่1 การวางแผนองค์กร(Organization Planning)

เรื่องที่1 การวางแผนองค์กร(Organization Planning)




















การวางแผนให้กับองค์กร 

การวางแผน (Planning) เป็นการะบวนที่ช่วยกำหนดและตัดสินใจเลือกสิ่งที่จะดำเนินการ และวิธีปฏิบัติในอนาคตเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ที่วางไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งหมายถึงการทำได้ตามกำหนดเวลาและใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดอย่างคุ้มค่า การวางแผนมีทั้งแบบเชิงรุก (Proactive) และเชิงรับ (Reactive) ซึ่งองค์กรควรมีการจัดทำทั้ง 2 แบบ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และสภาวะทางเศรษฐกิจ ก่อนที่องค์กรจะวางแผนนั้นจำเป็นต้องวิเคราะห์ตนเอง ดังนี้ “ขณะนี้เราอยู่ที่ไหน? เรากำลังจะไปที่ไหน? และเราจะไปถึงที่นั้นได้อย่างไร ? “

การกำหนดแผนงานที่ดี จะเป็นการช่วยในการตีกรอบความคิดและการดำเนินงานให้อยู่ในขอบเขต ไม่หลงประเด็น ซึ่งจะทำให้เสียเวลาและเสียทรัพยากรไปอย่างเปล่าประโยชน์ ข้อดีของการวางแผนการจัดการไว้ล่วงหน้า
ในโลกธุรกิจที่มีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา องค์กรควรมีแผนตั้งรับการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อความมั่นคงขององค์กร หากเรามีแผนเตรียมพร้อมบุคลากรให้สามารถปรับตัวได้ตามการเปลี่ยนแปลงก็จะทำให้องค์กรอยู่รอดไปได้
เป็นการกำหนดกลยุทธ์และแนวทางในการดำเนินงานขององค์กร เป็นการช่วยให้ผู้บริหารตัดสินใจได้ง่ายและตรงประเด็น สามารถดำเนินงานได้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
เมื่อองค์กรมีทรัพยากรที่จำกัด เช่น เงิน งบประมาณ หรือวัตถุดิบ การดำเนินงานที่มีการวางแผนล่วงหน้าจะลดขั้นตอนที่ผิดพลาดลง มีการประสานงานที่ดี บุคลากรได้รับการสื่อสาร เข้าใจหน้าที่การทำงานของตน ลดการทำงานซ้ำซ้อน ซึ่งเป็นการสิ้นเปลืองทรัพยากร
ความยืดหยุ่น (Flexibility) ความครอบคลุม (Comprehensiveness) ความชัดเจน (Specificity)

ระยะเวลาของแผน (Time Span)
ความเป็นพิธีการ (Formality)
ความมีเหตุมีผล (Rationality)
ความมุ่งอนาคต (Future Oriented)
ความสอดคล้อง (Relevance)

เป็นการกำหนดมาตรฐาน หลักเกณฑ์ในการตรวจสอบว่าองค์กรมีทิศทางตามที่ได้วางแผนไว้หรือไม่ สามารถประเมินผลเพื่อตรวจสอบการทำงานได้ หากไม่เป็นไปตามเป้าหมายก็สามารถปรับปรุงแผนงานใหม่ให้สามารถทำได้ในอนาคต










คำศัพท์บทที่10

คำศัพท์บทที่10


1.logic ตรรก

2.flow ขั้นตอน

3.Systems ระบบ

4.Suppor สนับสนุน

5.Decision การตัดสินใจ

6.Unstructure ไม่โครงร้าง

7.Model  ตัวแบบ

8.Transaction  ลักษณะ

9.Network  เครือข่าย

10.Wild  ไกล

บทที่10 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ(Decision Support Systems) เรื่องที่2 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ(Decision Support Systems)

 เรื่องที่2 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ(Decision  Support Systems)










ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System)
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System) เป็นระบบย่อยหนึ่งในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ โดยที่ระบบสนับสนุนการตัดสินใจจะช่วยผู้บริหารในเรื่องการตัดสินใจในเหตุการณ์หรือกิจกรรมทางธุรกิจที่ไม่มีโครงสร้างแน่นอน หรือกึ่งโครงสร้าง ระบบสนับสนุนการตัดสินใจอาจจะใช้กับบุคคลเดียวหรือช่วยสนับสนุนการตัดสินใจเป็นกลุ่ม นอกจากนั้น ยังมีระบบสนับสนุนผู้บริหารเพื่อช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ได้เริ่มขึ้นในช่วง ปี ค.ศ. 1970 โดยมีหลายบริษัทเริ่มที่จะพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อที่จะช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจปัญหาที่ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน หรือกึ่งโครงสร้างโดยข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงตลอด ซึ่งระบบสารสนเทศเดิมที่ใช้ในลักษณะระบบการประมวลผลรายการ (Transaction processing system) ไม่สามารถกระทำได้ นอกจากนั้นยังมีวัตถุประสงค์เพื่อลดแรงงาน ต้นทุนที่ต่ำลงและยังช่วยในเรื่องการวิเคราะห์การสร้างตัวแบบ (Model) เพื่ออธิบายปัญหาและตัดสินใจปัญหาต่างๆ จนกระทั่งปี ค.ศ. 1980 ความพยายามในการใช้ระบบนี้เพื่อช่วยในการสนับสนุนการตัดสินใจได้แพร่ออกไป ยังกลุ่มและองค์การต่างๆ

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ คืออะไร
DSS เป็นซอฟแวร์ที่ช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการ การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการสร้างตัวแบบที่ซับซ้อน ภายใต้ซอฟต์แวร์เดียวกัน นอกจากนั้น DSS ยังเป็นการประสานการทำงานระหว่างบุคลากรกับเทคโนโลยีทางด้านซอฟต์แวร์ โดยเป็นการกระทำโต้ตอบกัน เพื่อแก้ปัญหาแบบไม่มีโครงสร้าง และอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้ใช้ตั้งแต่เริ่มต้นถึงสิ้นสุดขั้นตอนหรืออาจกล่าวได้ว่า DSS เป็นระบบที่โต้ตอบกันโดยใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อหาคำตอบที่ง่าย สะดวก รวดเร็วจากปัญหาที่ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน ดังนั้นระบบการสนับสนุนการตัดสินใจ จึงประกอบด้วยชุดเครื่องมือ ข้อมูล ตัวแบบ (Model) และทรัพยากรอื่นๆ ที่ผู้ใช้หรือนักวิเคราะห์นำมาใช้ในการประเมินผลและแก้ไขปัญหา ดังนั้นหลักการของ DSS จึงเป็นการให้เครื่องมือที่จำเป็นแก่ผู้บริหาร ในการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีรูปแบบที่ซับซ้อน แต่มีวิธีการปฏิบัติที่ยืดหยุ่น DSS จึงถูกออกแบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ไม่เพียงแต่การตอบสนองในเรื่องความต้องการของข้อมูลเท่านั้น















บทที่10 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ(Decision Support Systems) เรื่องที่1 โครงสร้างการตัดสินใจ(Decision Structure)

เรื่องที่1 โครงสร้างการตัดสินใจ(Decision  Structure)








ประเภทของการตัดสินใจมี 3 ประเภท คือ

1. การตัดสินใจแบบโครงสร้าง(Structure)
2. การตัดสินใจแบบไม่เป็นโครงสร้าง(Unstructure)
3. การตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง (Semistructure)

1.การตัดสินใจแบบโครงสร้าง(Structure)
เมื่อมีการกำหนดโปรแกรมการตัดสินใจ องค์กรจะต้องเตรียมกฎเกณฑ์การตัดสินใจไว้ โดยแสดงขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติ ซึ่งอาจเป็นการตัดสินใจ (flow chart) ตารางการตัดสินใจหรือสูตรต่างๆ ขั้นตอนการตัดสินใจต้องระบุถึงสารสนเทศที่ต้องการ ก่อนที่จะนำไปประยุกต์ใช้กับกฎเกณฑ์การตัดสินใจแบบมีโครงสร้างนั้น จำเป็นต้องมีระบบสารสนเทศอย่างเด่นชัดและมีการนำข้อมูลเข้าที่เป็นไปตามขั้นตอนอย่างแน่นอน มีขั้นตอนการตรวจสอบจนเป็นที่แน่ใจได้ว่าถูกต้อง ทั้งความสมบูรณ์ของ การนำข้อมูลเข้าและการประมวลผล โดยใช้หลักการตัดสินใจทางตรรก (logic) และผลลัพธ์ที่ได้จากการตัดสินใจแบบนี้ จะอยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์ต่อการใช้งาน คือ จะต้องเด่นชัดในแง่ที่ว่า จะนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไรและควรมีข้อมูลอย่างเพียงพอที่จะช่วยให้ผู้รับสามารถนำไปใช้เพื่อการตัดสินใจ จากหลายๆ กรณีที่ไม่อาจจะกำหนดขั้นตอนหรือกฎเกณฑ์การตัดสินใจเพื่อประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ธรรมดาทั่วๆ ไป ให้ได้มากที่สุดสำหรับสถานการณ์ที่แตกต่างออกไป และไม่สามารถที่จะนำมาประยุกต์ใช้ได้ เราจะใช้คนเป็นผู้ตัดสินใจ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยความรู้ความสามารถเฉพาะด้าน

2.การตัดสินใจแบบไม่เป็นโครงสร้าง(Unstructure)
การตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้าง ย่อมไม่สามารถกำหนดขั้นตอนการตัดสินใจไว้ก่อนล่วงหน้า อาจเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงที่มีอยู่บ่อยครั้ง ทำให้องค์กรต้องเสียค่าใช้จ่ายใน การเตรียมขั้นตอน การตัดสินใจหรือความไม่เข้าใจวิธีการประมวลดีพอหรือมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง จนไม่สามารถจะกำหนดขั้นตอนการตัดสินใจที่เป็นถาวรได้ สิ่งสนับสนุนการตัดสินใจโครงสร้างแบบนี้ ได้แก่ การประมวลผลข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ และขั้นตอนการตัดสินใจที่จะประยุกต์เพื่อหาคำตอบจากปัญหา ข้อมูลที่ต้องการอาจจะจัดหามาก่อนล่วงหน้า ดังนั้นการดึงข้อมูลอาจเกิดตามการร้องขอระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้างจะใช้วิธีการถาม – ตอบและการวิเคราะห์

3.การตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง (Semistructure)
เป็นการตัดสินใจต่อเหตุการณ์ที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้าหรือคาดการณ์ได้ยากคุณลักษณะของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
1) จัดเตรียมสารสนเทศซึ่งได้ทำการประมวลผลแล้วจากการประมวลผลข้อมูล เพื่อช่วยในการตัดสินใจ
2) สนับสนุนการตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้างหรือแบบกึ่งโครงสร้าง
3) สนับสนุนการตัดสินใจของผู้ใช้
4) ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูงระบบสารสนเทศที่มีพื้นฐานการทำงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้ผู้บริการระดับสูงสามารถเข้าถึง รวบรวม วิเคราะห์ และการประมวลผลสารสนเทศ ทั้งภายในและภายนอกองค์กร ตามความต้องการได้อย่างสะดวกและรวดเร็วคุณลักษณะของระบบเพื่อผู้บริหารระดับสูงเป็นระบบซึ่งพัฒนาขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงานของผู้บริหารระดับสูง
5) ระบบผู้เชี่ยวชาญเป็นระบบที่ทำหน้าที่เสมือนผู้เชี่ยวชาญที่ให้คำปรึกษาแก่ผู้บริหารระดับสูง เนื่องจากบางครั้งต้องตัดสินปัญหาที่มีความซับซ้อนเกินกว่าจะตัดสินใจตามลำพังได้ ดังนั้นผู้ให้บริการอาจใช้ระบบผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้คำแนะนำ หรือให้คำปรึกษา ค้นหาช่องทาง และโอกาส เพื่อจัดการกับปัญหาที่เผชิญอยู่



คำศัพท์บทที่9

คำศัพท์บทที่9


1.Security  ปลอดภัย

2.Profile  ประวัติ

3.Catalog  รายการสินค้า

4.Scope  ขอบเขต

5.e-mail  จดหมายอิเล็กทรอนิกส์

6.Commerce  พาณิชย์

7.Systems  ระบบ

8.Management การจัดการ

9.Electeronic  อิเล็กทรอนิกส์

10.Search  ค้นหา

บทที่9 ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์(Electeronic Commerce Systems:E-Commerce) เรื่องที่2 การจัดการสืบค้นข้อมูล(Search Management)

เรื่องที่2 การจัดการสืบค้นข้อมูล(Search Management)








การสืบค้นข้อมูล


การนำความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต มาประยุกต์ใช้ในการศึกษาหาความรู้ ได้แก่ การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต โดยการใช้งานอินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับการศึกษานี้จะสามารถแบ่งเนื้อหาออกเป็น 3 ระดับดังนี้

1. การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
2. การนำข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตมาใช้งาน
3. การสร้างแหล่งข้อมูลด้วยตนเอง

การค้นคว้าด้วยการใช้ Search Engine
การใช้งานงานอินเทอร์เน็ตที่นิยมใช้กันอย่างมาก จะได้แก่การเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อหาความรู้ แต่การเข้าเยี่ยมชมนั้น ในกรณีที่เรารู้ว่าเว็บไซต์เหล่านั้นมีชื่อว่าอะไร เนื้อหาของเว็บ มุ่งเน้นเกี่ยวกับสิ่งใด เราสาสามารถที่จะเข้าเยี่ยมชมได้ทันที่ แต่ในกรณีที่เราไม่ทราบชื่อเว็บเหล่านั้น แต่เรามีความต้องการที่จะค้นหาเนื้อหาบางอย่าง มีวิธีการจะเข้าสืบค้นข้อมูลได้ โดยการใช้ความสามารถของ Search Engine

Search Engine จะมีหน้าที่รวบรวมรายชื่อเว็บไซต์ต่างๆ เอาไว้ โดยจัดแยกเป็นหมวดหมู่ ผู้ใช้งานเพียงแต่ทราบหัวข้อที่ต้องการค้นหาแล้วป้อน คำหรือข้อความของหัวข้อนั้นๆ ลงไปในช่องที่กำหนด คลิกปุ่มค้นหา เท่านั้น ข้อมูลอย่างย่อๆ และรายชื่อเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องจะปรากฏให้เราเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้ทันที

Search Engine แต่ละแห่งมีวิธีการและการจัดเก็บฐานข้อมูลที่แตกต่างกันไปตามประเภทของ Search Engine ที่แต่ละเว็บไซต์นำมาใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ดังนั้นการที่จะเข้าไปหาข้อโดยวิธีการ Search นั้น อย่างน้อยเราจะต้องทราบว่า เว็บไซต์ที่จะเข้าไปใช้บริการ ใช้วิธีการหรือ ประเภทของ Search Engine อะไร เนื่องจากแต่ละประเภทมีความละเอียดในการจัดเก็บข้อมูลต่างกันไป













บทที่9 ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์(Electeronic Commerce Systems:E-Commerce) เรื่องที่1 ขอบเขตพาริชย์อิเล้กทรอนิกส์(The Scope of e-Commerce)

เรื่องที่1 ขอบเขตพาริชย์อิเล็กทรอนิกส์(The Scope of e-Commerce)

        การกำหนดขอบเขตธุรกิจเป็นเรื่องจำเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามเพราะว่าจะช่วยให้เราสามารถประเมิน สถานการณ์ในอนาคตได้ ซึ่งการที่ เราจะทำ e-Commerce ได้นั้น เราจะต้องติดต่อสื่อสารกับลูกค้าผ่านทาง เว็บไซต์ ซึ่งถ้าคุณวางขอบเขตของธุรกิจไว้แล้ว เรื่องการออกแบบเว็บไซต์จะง่ายขึ้น ในที่นี้หมายถึง เราจะ ได้ไม่ต้องทำอะไรที่ มากเกินความจำเป็น และสามารถวางแผนปรับปรุงเว็บไซต์ให้ดีขึ้นในอนาคตได้ง่ายซึ่ง เราสามารถกำหนด ขอบเขตของธุรกิจ e-Commerce ได้เป็น 2 รูปแบบใหญ่ๆ ดังต่อไปนี้ค่ะ

1. ทำ e-Commerce แบบง่ายๆ และไม่เน้นความใหญ่โตมาก
o กลุ่มเป้าหมายหลักเป็นคนในประเทศ
o ออกแบบเว็บไซต์แบบง่ายๆ สบายตา ตามสไตส์ของสินค้า และกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งอาจใช้ เนื้อที่ฟรี หรือแบบที่คิดค่าบริการก็ได้
o การแสดงสินค้าบนเว็บไซต์ สามารถออกแบบได้เอง
o ใช้ระบบตะกร้าในการเก็บสินค้า หรือถ้ามีสินค้าไม่มากนักก็ให้ใช้การส่ง Order ทาง e-mail
o รูปแบบการชำระเงิน อาจใช้การโอนเงินผ่านบัญชีธนาคาร ซึ่งถือว่าเหมาะสมกับคนไทยส่วนใหญ่มากที่สุด
o การจัดส่ง จะทำโดยส่งทางไปรษณีย์ในรูปแบบพัสดุ หรือแบบ E.M.S
o การขยายขอบเขตทางธุรกิจอาจมีไม่มากนัก ดังนั้น เว็บไซต์ของคุณไม่จำเป็นต้องทำเป็น เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษ

2. ถ้าคุณต้องการทำ e-Commerce แบบที่มีขนาดใหญ่
o กลุ่มเป้าหมายหลักจะเป็นคนในประเทศ และคนต่างประเทศ
o การออกแบบเว็บไซต์จะต้องมีความน่าเชื่อถือค่อนข้างมาก อีกทั้งต้องให้ความสำคัญกับการ ประชาสัมพันธ์ที่เข้าถึงคนทั่วโลกมากที่สุด
o ระบบการสั่งซื้อ และจัดส่งสินค้าต้องมีมาตรฐานที่คนทั่วโลกส่วนใหญ่ให้การยอมรับ และต้องรวดเร็วตรงตามกำหนด ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องเคร่งครัดอย่างมากเพราะเกี่ยวเนื่องกับ ความไว้วางใจของลูกค้าที่มีต่อเว็บไซต์ของคุณ
o รูปแบบการตชำระเงิน ส่วนมากจะเป็นการชำระเงินด้วยบัตรเครดิต และต้องมีการรักษาความ ปลอดภัยในการใช้งานบัตรเครดิตให้ลูกค้าด้วย
o ขอบเขตทางธุรกิจจะสามารถขยายออกไปได้ทั่วโลก ดังนั้นการวางแผนจะต้องเป็นไปอย่าง รอบคอบ

วันพุธที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2558

คำศัพท์บทที่8

คำศัพท์บทที่8


1.Order รายการ

2.Tracking ติดตาม

3.Market ตลาด

4.Automation อัตโนมัติ

5.Customer ลูกค้า

6.Relationship ความสัมพันธ์

7.management การจัดการ

8.Sale ขาย

9.Life ชีวิต

10.Cycle วงจร

บทที่8 ระบบธุรกิจในองค์กรขนาดใหญ่ เรื่องที่2 ผลประโยชน์และความท้ายของCRM

เรื่องที่2 ผลประโยชน์และความท้ายของCRM





ประโยชน์ของการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ (CRM) ต่อองค์กร
1. การเพิ่มรายได้จากการขาย (Sale Revenue Increase) การมุ่งเน้นการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า เพื่อทำให้ลูกค้าเกิดความภักดีการใช้สินค้าหรือบริการ (Customer Loyalty) การนำหลักการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ (CRM) มีรายได้ที่เพิ่มขึ้น ปรับปรุงกระบวนการทำงานใน องค์กรลดรายจ่ายในการดำเนินงาน และต้นทุนการหาลูกค้าใหม่ ๆ หรือดึงลูกค้ากลับมาใช้สินค้าหรือบริการอีกครั้ง

2. การบริหารของวงจรการทำธุรกิจของลูกค้า (Customer Life Cycle Management)
2.1 การหาลูกค้าใหม่เข้าองค์กร (Customer Acquisition) โดยการสร้างความเด่น (Differentiation) ของสินค้าหรือบริการที่ใหม่ (Innovation) และเสนอความความสะดวกสบาย (Convenience)ให้กับลูกค้า
2.2 การเพิ่มความพึงพอใจให้กับลูกค้าเพื่อทำการซื้อสินค้าและบริการ โดยผ่านขั้นตอนการทำงาน ที่กระชับเพื่อการสนองตอบความต้องการของลูกค้าได้รวดเร็วและถูก ต้อง และ การทำงานที่สนอง ตอบสิ่งที่ลูกค้าต้องการหรือเสนอสิ่งที่ลูกค้าต้องการ โดยผ่านหน่วยงาน ลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Service)
2.3 การรักษาลูกค้า (Customer Retention) ให้อยู่กับองค์การนานที่สุด และการดึงลูกค้าให้กลับมา ใช้สินค้าหรือบริการ โดยฟังความคิดเห็นจากลูกค้าและพนักงานในองค์กร (Listening) รวมถึงการเสนอสินค้าและบริการใหม่ (New Product)

3.การเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการตัดสินใจ (Improving Integration of Decision Making Process) การเพิ่มการประสานงานในฝ่ายต่างๆของบริษัท โดยเฉพาะการใช้ระบบฐานข้อมูลของลูกค้าร่วมกัน และผู้บริหารสามารถดึงข้อมูลจากระบบต่างๆมาประกอบการตัดสินใจ เช่น รายละเอียดของลูกค้าที่ติดต่อเข้ามาในฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ (CallCenter), รายละเอียดของการจ่ายเงินของลูกค้าจากฝ่ายขาย(Sales),กิจกรรมทางการตลาดที่เสนอให้ลูกค้าแต่ละกลุ่มหรือแต่ละบุคคลจากฝ่ายการตลาด(Marketing) และ การควบคุมปริมาณของสินค้าในแต่ละช่วงจากฝ่ายสินค้าคงคลัง (Inventory Control) เป็นต้น

4.การเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน (Enhanced Operational Effiency) การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ (CRM) จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของฝ่ายต่างๆของบริษัท โดยข้อมูลต่างนั้นได้มาจากช่องทางการสื่อสาร เช่น Fax, โทรศัพท์ และ อีเมล์ (Email) เป็นต้น ซึ่งการเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานขององค์กรมีประโยชน์กับฝ่ายต่างๆขององค์กรได้ดังต่อไปนี้
- ฝ่ายขาย Telesales, Cross-sellingและUp-selling
ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายขาย เช่น ในการขายสินค้าแบบ Cross-selling และ Up-selling เพิ่มความสามารถในการคาดเดาแนวโน้มการซื้อสินค้าหรือบริการ รวมถึงการใช้ข้อมูลของลูกค้า เช่น ข้อสัญญา (Contract) ระหว่างองค์กรกับลูกค้า ระบบยังช่วยระบุรายละเอียดของ สินค้าหรือบริการให้เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละราย, การเก็บข้อมูลทาง ด้านการขาย และการตรวจสอบ สถานภาพของการส่งสินค้าให้กับลูกค้า
- ฝ่ายการตลาด (Marketing) ระบบการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ (CRM) มีส่วนช่วยให้บริษัท สามารถวิเคราะห์ว่าวิธีใดที่ควรจัด จำหน่ายสินค้าผ่านช่องทางการขาย (Sales Channels) ต่างๆ เช่น ตัวแทนการขาย (Sales Representatives) และ ผ่านทางเว็บไซด์ (Website) ระบบการ บริหารลูกค้าสัมพันธ์ยังมีบทบาท สำคัญกับช่องทางการสื่อสาร (Communication Channels) เช่น ระบุช่องทางการสื่อสาร ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการขายสินค้าชนิดนั้นหรือลูกค้าแต่ละราย หรือ การระบุ พนักงานที่เหมาะสม ที่สุดในการให้บริการหรือติดต่อกับลูกค้ารายนั้นๆ











บทที่8 ระบบธุรกิจในองค์กรขนาดใหญ่ เรื่องที่1 การจัดการลุกคาสัมพันธ์( Customer relationship management )

  เรื่องที่1 การจัดการลุกคาสัมพันธ์( Customer relationship management ) 












การจัดการลูกค้าสัมพันธ์ : CRM


ความสำคัญของการบริหารงานลูกค้าสัมพันธ์ (CRM) ช่วยให้องค์กรสามารถเพิ่มความสัมพันธ์อันดีให้กับลูกค้า เพิ่มรายได้ลดค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องค่าใช้จ่ายในการแสวงหาลูกค้า และเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า ( Customer Satisfaction ) โดยการสร้างกระบวนการทำงานและพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามความต้องการของลูกค้าจำนวนผู้ประกอบการ ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน สามารถนำแนวทางการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ เช่น แนวทางที่สำคัญในการจัดการระบบการบริหารงานและสร้างมาตรฐานการทำงานในบริษัท เช่น การรวบรวมเกี่ยวกับข้อมูลของลูกค้า , การจัดการเกี่ยวกับช่องทางการสื่อสารและการพัฒนาสินค้าและบริการเพื่อสนองตอบสิ่งที่ลูกค้าต้องการ


องค์ประกอบหลักทั่วไปของ CRM ประกอบด้วยส่วนต่างๆ 3 ส่วน คือ
1) Market Automation การสร้างระบบการตลาดอัตโนมัตินี้จำเป็นต้องอาศัยฐานข้อมูลที่มีลักษณะที่เป็น Dynamic และมีการปรับเปลี่ยนตลอดเวลาโดยทั่วไปแล้ว MA นี้จะมุ่งเน้นในการกำหนด Functions สำคัญๆด้านการตลาด อาทิเช่น การกำหนด Ranking ของลูกค้า, การจัดการในเรื่องกลุ่มเป้าหมาย, การสร้างและบริหารด้าน Campaign ต่างๆในส่วนนี้ถือได้ว่า องค์กรธุรกิจทั่วไปมักจะไม่ได้นำระบบการตลาดเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ และมักกำหนดและทำการ Track ผลโดยใช้ Manual System อีกทั้งข้อมูลการตลาดบางส่วนที่อาจอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์มักเป็นข้อมูลที่มีลักษณะเป็น Static คือ ไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงยากที่องค์กรธุรกิจที่หันมาใช้ระบบ CRM จะพัฒนาหรือเปลี่ยนรูปแบบฐานข้อมูลจากระบบ Traditional Database มาเป็น MA
2) Sales Automation องค์กรธุรกิจให้ความสำคัญเรื่องของรายการขายที่เกิดขึ้นแล้ว และนำข้อมูลมาทำการวิเคราะห์ โดยเทียบกับเป้าหมายทางธุรกิจที่วางไว้เปรียบเทียบกับยอดขายในแต่ละช่วงเวลา แต่ในระบบ CRMเริ่มตั้งแต่การสร้างกลุ่มเป้าหมายการติดตาม (Tracking) การจัดการในด้านคำสั่งซื้อและการตอบสนองต่อคำสั่งซื้อ (Order Fulfillment) สิ่งที่องค์กรธุรกิจทั่วไปดำเนินอยู่และมีข้อมูลในด้านการขายเพียงพอ กลับพบว่าเมื่อนำเอาระบบ CRM มาใช้ ข้อมูลในส่วนขั้นตอนก่อนการขายกลับไม่มีในระบบคอมพิวเตอร์


3) Customer Service คือการติดตามเรื่องต่างๆที่เกิดขึ้นภายหลังการขายเช่น รายการด้านบริการหลังการขายการ Complaint ต่างๆในเรื่องนี้องค์กรธุรกิจส่วนใหญ่ยังขาดระบบที่ทำการติดตาม (Tracking), การวิเคราะห์ และสรุปผลเพื่อนำข้อมูลไปเป็นประโยชน์ในการสร้างการขายครั้งต่อๆไป


จากองค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนที่กล่าวมานี้จะเห็นว่าได้ว่าการนำมาเอาระบบ CRM มาใช้ในองค์กรเป็นสิ่งที่ไม่ง่ายเลย ไม่เพียงแต่องค์กรจะต้องจัดสรรงบประมาณการลงทุนที่สูงเท่านั้น การกำหนดนโยบายในด้านต่างๆที่ชัดเจน ตลอดจนการ Integrate ระบบเหล่านี้เข้าด้วยกัน เพื่อให้ข้อมูลของลูกค้าเหล่านี้ Flow ไปในแผนกต่างๆขององค์กร และสามารถตอบสนองต่อความต้องการและอุปนิสัยส่วนตัวของลูกค้า อันจะนำไปสู่การเพิ่มยอดขาย และการสร้างความสัมพันธ์ในระยะยาวอีกด้วย








คำศัพท์บทที่7

คำศัพท์บทที่7


1.intermediaries  คนกลาง

2.Physica  การแจกจ่าย

3.Negotiation  การต่อรอง

4.Suppliers  ผู้จำหน่าย

5.Publics  สาธารณ

6.Processing  ประมวลผล

7.Real-time  ทันที

8.Transactional  รายการ

9.Batch  กลุ่ม

10.Systems  ระบบ

เรื่องที่7 ระบบธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Business System) เรื่องที่2 ระบบด้านการตลาด (Marketing System)

เรื่องที่2 ระบบด้านการตลาด (Marketing System)



\

ดังเป็นที่ทราบกันอยู่ว่า การแลกเปลี่ยนที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคลสองกลุ่มในโครงสร้างขนาดใหญ่ คือ ระบบการตลาด ดังนั้น ประสิทธิภาพการตลาดของพนักงานขายและผุ้ซื้อ จึงขึ้นอยู่กับความเข้าใจในองค์ประกอบสำคัญ ลักษณะการทำงาน และความสัมพันธ์ที่ทำให้เป็นระบบการตลาด

ระบบการตลาด คือ กลุ่มของสถาบันที่สำคัญและการทำงานที่เชื่อมโยงระหว่างองค์การกับตลาด

สมมุติว่า บริษัทแห่งหนึ่ง ผลิตสินค้าชนิดเดียว สำหรับตลาดแห่งหนึ่ง องค์ประกอบสำคัญในระบบตลาดคือ บริษัทและตลาด องค์ประกอบทั้งสองนั้น เชื่อมต่อกันด้วยการเคลื่อนย้ายของสิ่งสำคัญ 4 ประการคือ

1.สินค้าและบริการ

2.การสื่อสารไปสู่ตลาด

3.จำนวนเงินรับที่มาสู่บริษัท

4.ข้อมูลที่บริษัทได้รับกลับมา

ระบบการตลาดอย่างง่าย อาจรวมความถึงระบบการตลาดแบบไม่หวังผลกำไร เช่น มูลนิธิสายใจไทย ให้ข้อมูลกับประชาชนเกี่ยวกับความช่อยเหลือที่ควรให้แก่พวกตำรวจ และทหารชายแดน พยายามเน็นให้ประชาขนได้แสดงความรักชาติ สิ่งที่ได้รับคือมาก็คือ เงินบริจาคและอาสาสมัครจากกลุ่มประชาชน เป็นต้น

ระบบการตลาดที่ดำเนินอยุ่นั้น ไม่ใช่มีองค์ประกอบแต่บริษัทและตลาดเป้าหมายเท่านั้น องค์ประกอบที่มีเพิ่มขึ้น มีผลต่อความสำเร็จที่จะทำให้บริษัทประสบความสำเร็จที่จะทำให้บริษัทประสบความสำเร็จในการบริการลูกค้า องค์ประกอบนี้แบ่งออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน

1.ระบบแก่นการตลาด – ประกอบด้วย กลุ่มผู้จำหน่ายวัสดุ (suppliers) ซึ่งจำหน่ายวัสดุให้แก่บริษัท และคู่แข่งขันของบริษัท เพือที่จะนำไปผลิตสินค้าและส่งผ่านคนกลาง เพื่อนำไปสู่ตลาดผู้บริโภค

2.กลุ่มสาธารณชน (Publics) หมายถึงบุคคลกลุ่มต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงานของระบบแก่นการตลาด บุคคลเหล่านี้ ได้แก่ สถาบันการเงิน ผู้สือข่าว องค์การรัฐบาล กลุ่มชนที่สนใจ และประชาชนทั่วไป เป็นต้น

3.สภาวะแวดล้อมมหภาค (Macroenvironment) ประกอบด้วย ประชากรศาสตร์ เศรษฐกิจ กฎหมายและการเมือง เทคโนโลยีและวัฒนธรรม

ระบบแก่นการตลาด (The core marketing systems)

สถาบันคนกลาง (Marketing intermediaries) คือสถาบันที่อำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการจากผุ้ผลิต จำหน่ายสินค้าไปสู่ตลาดชั้นสุดท้าย สถาบันคนกลางประกอบด้วย พ่อค้าส่ง พ่อค้าปลีก ตัวแทน นายหน้า บริษัทขนส่ง โกดังเก็บสินค้า

สถาบันคนกลางมีห้าที่อย่างน้อย 4 ประการ

1.เสาะหาตลาด (Market search) ผู้ขายต้องแสวงหาผุ้ซื้อที่เป็นไปได้ และผุ้ซื้อก็ต้องแสวงหาผ้าขาย ซึ่งงานนี้ สถาบันคนกลางสามารถที่จะให้ความช่วยเหลือได้ เช่น บริษัทผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ผลิตเครืองคอมพิวเตอร์ขนาดพกพา บริษัททราบดีว่า ประชาขนส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นตลาดเป้าหมายของเครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดนี้ จึงได้จัดให้บริษัทวิจัยเพือนจะได้ทราบว่าใครคือตลาดเป้าหมาย และอาศัยสถาบันคนกลางในการเสาะหาตลาดนั้น

2.การแจกจ่ายตัวสินค้า (Physical Distribution) หน้าที่ที่ต้องกระทำในการเคลือนย้ายสินค้าประกอบด้วย สถานที่เก็บสินค้า การักษาสินค้า และการขนส่ง

3.การสื่อสาร (Communication) การที่จะเกิดการแลกเปลี่ยนได้ บุคคลผ่ายต่าง ๆ ต้องมีการส่ง และรับข้อมูล ผุ้ขายก็พยายามหาวิธีที่จะบอกกล่าวแก่ผู้ซื้อที่เป็นไปได้เกี่ยวกับสินค้าที่มีอยู่ สื่อสำหรับการสื่อสาร ได้แก่ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร โทรทัศน์ วิทยุ ป้ายโฆษณา และอินเตอร์เน็ต เป็นต้น สถาบันที่ช่วยพนักงานขายในการใช้สือสารอย่างมีประสิทธิภาพ คือ บริษัทตัวแทนโฆษณา และหรือบริษัทประชาสัมพันธ์

4.การต่อรองและโอนกรรมสิทธ็ (Negotiation and title transfer) คนกลางที่ให้ความช่วยเหลือในการต่อรอง และโอนกรรมสิทธิ้สินค้า รวมถึงสถาบันให้สินเชื่อ สถาบันกฎหมาย พ่อค้าคนกลางและนายหน้าคนกลาง พ่อค้ากลาง คือคนกลาง เช่น ตัวแทนผู้ผลิต นายหน้าซึ่งช่วยผู้ขายในการหาผุ้ซื้อต่อรอง และโอนกรรมสิทธ์สินค้า โดยที่ตนเองไม่มีกรรมสิทธิ์ในสินค้านั้น ๆ

หน้าที่อื่น ๆ ของสถาบันคนกลางที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนสินค้าได้แก่ การจัดมาตรฐานสินค้า จัดอันดับสินค้า และตั้งชื่อยี่ห้อสินค้า จึงเห็นได้ว่า การที่จะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนนี้เป็นงานที่หนักไม่น้อยเลย และงานเหล่านี้ก็ทำรวมกัน โดยผุ้ซื้อ ผู้ขาย และสถาบันคนกลางการตลาด ปกติผุ้ซื้อมักจะต้องการให้งานเหล่านี้มีผุ้ชายและคนกลางรับผิดชอบแต่ก็จะทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้น ผุ้ซื้อจึงรับทำหน้าที่บางอย่าง เช่น การเสาะหาตลาด การเดินทาง แบะการสื่อสารเพือนลดต้นทุนของเขา

ผู้จำหน่าย(Suppliers) เป็นบุคคลสำคัญในระบบแก่นการตลาด บริษัทเป็นหลักสำคัญในการเปลี่ยนวัตถุดิบ เครื่องจักร คนงาน และเงินทุนให้เป็นสินค้าที่มีประโยชน์ แหล่งทรัพยากรจากผู้จำหน่ายวัสดุ โดยการเสาะหาตลาด การแจกจ่ายตัวสินค้า การสื่อสาร การต่อรองและการโอนกรรมสิทธิ์ การซื้อวัสดุของบริษัทจะได้ประโยชน์มากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์ทางการตลาดกับผู้จำหน่ายวัสดุ บางครั้งผู้ต้องกลายเป็นนักการตลาด ถ้าเกิดปัญหาการขาดแคลนวัสดุ ต้องทำการเสาะหาตลาด เสนอราคาที่สูงกว่า ยอมรับบริการที่น้อย และจูงใจให้ผู้จำหน่ายวัสดุเห็นถึงความจำเป็นของผู้ซื้อ

ผู้จำหน่ายวัสดุ ผู้ผลิต คนกลางการตลาด และผู้บริโภคคนสุดท้าย รวมกันเป็นช่องทางการตลาด ช่องทางเริ่มจากวัตถุดิบที่พบ แล้วมีการเปลี่ยนแปลงให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ให้ประโยชน์แก่ผู้บริโภค ตัวอย่างเช่น ผู้ผลิตผ้าเป็นลูกค้าผู้ผลิตไนล่อน ผู้ผลิตเสื้อผ้าเป็นลูกค้าผู้ผลิตผ้าและผู้ซื้อเป็นลูกค้าผู้ค้าปลีก


















เรื่องที่7 ระบบธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Business System) เรื่องที่1 การประมวลผลทางธุรกิจ

เรื่องที่1 การประมวลผลทางธุรกิจ





ระบบประมวลผลรายการ หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ใช้ในการเปลี่ยนข้อมูลดิบจากการปฏิบัติงานให้อยู่ในรูปแบบที่เครื่องจักรสามารถอ่านได้, เก็บรายละเอียดรายการ, ประมวลผลรายการและสั่งพิมพ์รายละเอียดรายการ ออกมาได้ รายการ (Transaction) คือ การกระทำพื้นฐานที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินการทางธุรกิจ เช่น การขายสินค้า การจองตั๋วเครื่องบิน การซื้อสินค้าผ่านเครดิตการ์ดและการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าคงคลัง จัดเป็นรายการทั้งสิ้น ระบบประมวลผลรายการนิยมใช้ในการประมวลผลบัญชี, การขาย, หรือประมวลผลข้อมูลสินค้าคงคลัง เนื่องจากข้อมูลเหล่านี้เป็นที่ต้องการของระบบสารสนเทศอื่นๆในองค์กร

ในการดำเนินการของระบบประมวลผลรายการ ข้อมูลถูกนำเข้าไปยังคอมพิวเตอร์ของระบบสารสนเทศ โดยใช้แป้นพิมพ์หรืออุปกรณ์อื่นๆ ข้อมูลจะถูกเก็บอยู่ในคอมพิวเตอร์จนกระทั่งพร้อมที่จะถูกประมวลผล หลังจากที่ข้อมูลถูกป้อนเข้าไปแล้ว จะเกิดการประมวลผลเพื่อเปลี่ยนข้อมูลเป็นสารสนเทศที่มีประโยชน์ในการจัดการ โดยระบบประมวลผลรายการจะทำการบันทึกรายการลงในฐานข้อมูลและผลิตเอกสารที่เกี่ยวข้องกับรายการนั้นออกมา อาจอยู่ในรูปแบบของรายงาน, ตาราง, กราฟ,ภาพเคลื่อนไหว และเสียงฯลฯ ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้สารสนเทศนั้นๆ

ระบบประมวลผลรายการสามารถแบ่งตามวิธีการประมวลผลข้อมูล ได้แก่

1 ระบบการประมวลผลแบบกลุ่ม (Batch Processing System) ข้อมูลจากหลายๆรายการ จากผู้ใช้หลายๆ คน หรือจากช่วงเวลาหลายๆ ช่วง ถูกรวมเข้าด้วยกัน, นำเข้า และประมวลผลเหมือนเป็นกลุ่มเดียว ตัวอย่างเช่น ยอดขายรายวันซึ่งถูกประมวลผลเพียงวันละหนึ่งครั้ง จะใช้ระบบการประมวลผลแบบกลุ่มนี้เมื่อข้อมูลไม่จำเป็นต้องปรับปรุงทันที และเมื่อมีข้อมูลจำนวนมากที่คล้ายกัน ต้องถูกประมวลผลในครั้งเดียวกัน

2 ระบบการประมวลผลแบบออนไลน์ (Online Processing System) รายการถูกประมวลผลเมื่อเกิดรายการนั้นขึ้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

2.1 การประมวลผลเชิงรายการ (Transactional Processing) ข้อมูลถูกประมวลผลเมื่อป้อนข้อมูลเข้าโดยไม่ต้องเก็บไว้ประมวลผลในภายหลัง เช่น ระบบเช็ครายการสินค้าออกของร้านขายของชำ โดยระบบจะทำการออกใบเสร็จรับเงินที่แสดงรายการสินค้าทันทีหลังจากรายการสินค้าต่างๆ ที่ซื้อ ถูกประมวลผล

2.2 การประมวลผลแบบทันที (Real-time Processing) ใช้ในระบบควบคุม หรือระบบที่ต้องการให้เกิดผลสะท้อนกลับ เช่นขบวนการควบคุมอุณหภูมิของห้างสรรพสิน การทำงานของการประมวลผลแบบทันที สามารถไปมีผลกระทบกับตัวรายการนั้นๆ เอง ถ้าผู้ใช้หลายรายแข่งขันกันเพื่อใช้ทรัพยากรเดียวกัน เช่นที่นั่งบนเครื่องบิน หรือในชั้นเรียนพิเศษ

ระบบสารสนเทศแบบประมวลรายการ (Transaction Processing Systems -TPS)

เป็นระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับการบันทึกและประมวลข้อมูลที่เกิดจากธุรกรรมหรือการปฏิบัติงานประจำหรืองานขั้นพื้นฐานขององค์การ เช่น การซื้อขายสินค้า การบันทึกจำนวนวัสดุคงคลัง เมื่อใดก็ตามที่มีการทำธุรกรรมหรือปฏิบัติงานในลักษณะดังกล่าวข้อมูลที่เกี่ยวข้องจะเกิดขึ้นทันที เช่น ทุกครั้งที่มีการขายสินค้า ข้อมูลที่เกิดขึ้นก็คือ ชื่อลูกค้า ประเภทของลูกค้า จำนวนและราคาของสินค้าที่ขายไป รวมทั้งวิธีการชำระเงินของลูกค้า


คำศัพท์บทที่6

คำศัพท์บทที่6


1.Role บทบาท
2.Telecommunication การสื่อสารโทรคมนาคม

3.Networks เครือข่ายคอมพิวเตอร์

4.Intranet อินทราเน็ต

5.web เว็บ

6.Trends  ทิศทาง

7.Industy  โรงงานอุตสาหกรรม

8.Business  ธุรกิจ

9.Enterprise  องค์กร

10.Application  ประยุกต์

วันอังคารที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2558

บทที่6 การสื่อสารโทรคมนาคมและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Telecommunication and Networks) เรื่องที่2 บทบาทของอินทราเน็ต(Role of Intranets)

เรื่องที่2 บทบาทของอินทราเน็ต(Role of Intranets)

  อินทราเน็ต (Intranet) คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงการสื่อสารด้วยระบบโปรโตคอลทีซีพี/ไอพี(TCP/IP) ซึ่งเป็นระบบโปรโตคอลในการสื่อสารของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet) ดังนั้น โปรแกรมเพื่อการสื่อสารบนเครือข่ายอินทราเน็ตจึงเป็นซอฟต์แวร์ชนิดเดียวกันกับที่ใช้ในการสื่อสารบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ส่วนความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างเครือข่ายอินทราเน็ตกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต คือ อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ครอบคลุมทั้งโลก อินเทอร์เน็ตไม่มีใครเป็นเจ้าของอย่างแท้จริง และไม่มีใครสามารถควบคุมเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ แต่สำหรับเครือข่ายอินทราเน็ตมีเจ้าของแน่นอน และถูกควบคุมโดยองค์กรหรือบุคคลผู้เป็นเจ้าของ
อินทราเน็ตเกิดจากความคิดของระบบอินเทอร์เน็ตในการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์หลากหลายชนิดจากทุกมุมโลกเข้าด้วยกันได้ รวมทั้งการที่ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลจากที่ต่าง ๆ การมีบริการที่เป็นประโยชน์และความสามารถในการแสดงผลได้ตามต้องการแบบ 4ท (ที่เดียวทั่วงค์กรใหม่และก่อให้เกิดผลกระทบต่อกระบวนการและขั้นตอนการทำงานในปัจจุบันและอนาคต ในปัจจุบันได้มีผู้ให้คำจำกัดความของอินทราเน็ตไว้ต่าง ๆ ดังนี้- อินทราเน็ตเป็นระบบเครือข่ายภายในที่เชื่อมโยงเครือข่ายย่อยต่าง ๆ เข้าด้วยกัน และให้ทุกคนในองค์กรใช้ร่วมกัน
- อินทราเน็ต เป็นรูปแบบของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ใช้ในองค์กร
- อินทราเน็ต เป็นคำที่สื่อความหมายถึงการนำเทคโนโลยีของระบบอินเทอร์เน็ตมาใช้ เพื่อตอบสนองระบบงานภายในองค์กรโดยเฉพาะ
- อินทราเน็ตเป็นระบบอินเทอร์เน็ตที่ใช้งานเฉพาะในองค์กร
- อินทราเน็ต เป็นการนำเทคโนโลยีของระบบอินเทอร์เน็ตมาประยุกต์ใช้ ในองค์กรหรือหน่วยงาน
- อินทราเน็ต เป็นการรวมสารสนเทศที่มีอยู่ โดยวิธีการปรับปรุงให้เข้าถึงและกระจายข้อมูลผ่านไอพี เครือข่ายโดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวก ปรับปรุงวิธีการเข้าถึงสารสนเทศ การกระจายใช้สารสนเทศ และการบริหารสารสนเทศ
- อินทราเน็ต เป็นการนำเทคโนโลยีของระบบอินเทอร์เน็ต ที่ได้รับการยอมรับและเป็นมาตรฐานโลก ทันที ทุกเวลา) นี้เอง ทำให้เกิดแนวคิดในการนำเทคโนโลยีของระบบดังกล่าวมาใช้งานในหน่วยงานหรือองค์กรซึ่งเมื่อย่อระบบอินเตอร์เน็ตลงมาในองค์กรก็เป็นระบบอินทราเน็ตนั่นเอง ดังนั้นอินทราเน็ตต้องมีทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์
การประยุกต์ใช้อินทราเน็ตถือเป็นการปฎิรูประบบงานในองค์กร









บทที่6 การสื่อสารโทรคมนาคมและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Telecommunication and Networks) เรื่องที่1 เครือข่ายคอมพิวเตอร์ในองค์กร (Networking the Enterprise)



เรื่องที่1 เครือข่ายคอมพิวเตอร์ในองค์กร (Networking the Enterprise)





      
          เครือข่ายภายในองค์กรหรืออินทราเน็ต(Intranet) เป็นระบบเครือข่ายที่นำเทคโนโลยีแบบเปิดจากอินเตอร์เน็ตมาประยุกต์ใช้ภายในองค์กร เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และการทำงานต่างๆ ร่วมกันของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นการจำกัดขอบเขตการใช้งานให้อยู่ภายในองค์กรเท่านั้น เช่น การใช้งานเครื่องบริการเว็บ (web server) ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

คำศัพท์บทที่5

คำศัพท์บทที่5


Character  อักษร

Field  กลุ่มของตัวอักษร

Record  ระเบียน

File  แฟ้มข้อมูล

Database  ฐานข้อมูล

Document  เอกสาร

Payroll  ข้อมูลเงินเดือน

Group  กลุ่ม

Item  รายการ

Data  ข้อมูล

บทที่5 การจัดการทรัพยากรข้อมูล (Data Resource Management) เรื่องที่2 โครงสร้างฐานข้อมูล

 เรื่องที่2 โครงสร้างฐาน

ตัวอย่าง



โครงสร้างฐานข้อมูล
1. โครงสร้างเชิงลำดับขั้น ความสัมพันธ์ระหว่างระเบียนเป็นแบบหนึ่งต่อกลุ่ม เพราะแต่ละส่วนย่อยข้อมูลมีความสัมพันธ์กับส่วนย่อยเหนือขึ้นไปเท่านั้น ข้อมูลส่วนย่อยหรือระเบียนที่ระดับสูงที่สุดเรียกว่า ราก
2. โครงสร้างแบบเครือข่าย สามารถแสดงด้วยความสัมพันธ์เชิงตรรกะที่มีความซับซ้อนมากขึ้นและยังคงใช้โปรแกรมสำเร็จรูป DBMS บนเมนเฟรม ซึ่งอนุญาตความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่ม
3. โครงสร้างเชิงสัมพันธ์ นิยมมากที่สุดมีการนำมาใช้กับโปรแกรมสำเร็จรูปDBMSไมโครคอมพิวเตอร์ มินิคอมพิวเตอร์ และระบบเมนเฟรมในแบบจำลองเชิงสัมพันธ์นั้นส่วนย่อยข้อมูลทั้งหมดภายในฐานข้อมูลถูกจัดเก็บ ในรูปแบบตารางที่เรียบง่าย
4. โครงสร้างเชิงหลายมิติ มีความแตกต่างจากแบบจำลองเชิงสัมพันธ์คือใช้โครงสร้างเชิงหลายมิติเพื่อจัดระเบียบข้อมูลและแสดงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล
5. โครงสร้างเชิงวัตถุ แบบจำลองฐานข้อมูลเชิงวัตถุ เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีสำคัญของยุคใหม่ของโปรแกรมประยุกต์สื่อประสมเชิงเว็บ









บทที่5 การจัดการทรัพยากรข้อมูล (Data Resource Management) เรื่องที่1 การจัดการทรัพยากรข้อมูล

เรื่องที่1 การจัดการทรัพยากรข้อมูล



การจัดการทรัพยากรข้อมูล
ข้อมูล เป็นทรัพยากรที่สำคัญที่จำเป็นในการจัดการเหมือนกับทรัพย์สินอื่นๆ ของธุรกิจ องค์กรต้องมีข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ เพื่อการดำเนินกิจการภายในและที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมภายนอก
แนวคิดข้อมูลพื้นฐาน
- ตัวอักขระ (Character) ส่วนย่อยของข้อมูลเชิงตรรกะขั้นต้น ตัวอักษร ตัวเลข หรือสัญญาลักษณ์ 1 ตัว
- เขตข้อมูล(Field) เป็นลำดับต่อไป กลุ่มของอักษร
- ระเบียน(Record) เขตข้อมูลที่สัมพันธ์กันถูกจัดเป้นกลุ่มในรูปแบบระเบียน แสดงการรวบรวมคุณสมบัติที่ใช้อธิบายเอนทิตี
- แฟ้ม(File) กลุ่มของระเบียนที่สัมพันธ์กัน เรียกแฟ้มหรือตาราง
- ฐานข้อมูล(Database) เป็นการรวบรวมแบบบูรณาการของระเบียนหรือออบเจ็กต์ในเชิงตรรกะที่สัมพันธ์กัน

แนวคิดเชิงการจัดการฐานข้อมูล
การพัฒนาฐานข้อมูลและซอฟแวร์จัดการฐานข้อมูล สามารถเข้าถึงได้โดยโปรแกรมประยุกต์ ดังนั้น แนวคิดเชิงการจัดการฐานข้อมูล เกี่ยวข้องกับ 3 กิจกรรมเบื้องต้นคือ
- การปรับปรุงและบำรุงรักษาฐานข้อมูล
- การเตรียมสาระสนเทศที่จำเป็นสำหรับการใช้งาน
- การเตรียมความสามารถในการโต้ตอบ ค้นหา และจัดทำรายงาน

คำศัพท์บทที่4

คำศัพท์บทที่4

1.package  สำเร็จ
2.sheet  ตาราง
3.software  โปรแกรมคอมพิวเตอร์
4.Types  ประเภท
5.data  ข้อมูล
6.communication  การสื่อสาร
7.presentation  นำเสนอ
8.processing  ประมวลผล
9.computer  คอมพิวเตอร์
10.present  เสนอ

บทที่4 คอมพิวเตอร์วอฟต์แวร์ (Computer Software) เรื่องที่2 ประเภทของวอฟต์แวร์(Types of Software)

เรื่องที่2 ประเภทของวอฟต์แวร์(Types of Software)







ซอฟท์แวร์ระบบ
คอมพิวเตอร์ประกอบด้วย หน่วยรับเข้า หน่วยส่งออก หน่วยความจำ และหน่วยประมวลผล ในการทำงานของคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีการดำเนินงานกับอุปกรณ์พื้นฐานที่จำเป็น ดังนั้นจึงต้องมีซอฟต์แวร์ระบบเพื่อใช้ในการจัดการระบบ หน้าที่หลักของซอฟต์แวร์ระบบประกอบด้วย
ใช้ในการจัดการหน่วยรับเข้าและหน่วยส่งออก เช่น รับการกดแป้นต่าง ๆ บนแผงแป้นอักขระ ส่งรหัสตัวอักษรออกทางจอภาพหรือเครื่องพิมพ์ ติดต่อกับอุปกรณ์รับเข้า และส่งออกอื่น ๆ เช่น เมาส์ อุปกรณ์สังเคราะห์เสียง
ใช้ในการจัดการหน่วยความจำ เพื่อนำข้อมูลจากแผ่นบันทึกมาบรรจุยังหน่วยความจำหลัก หรือในทำนองกลับกัน คือนำข้อมูลจากหน่วยความจำหลักมาเก็บไว้ในแผ่นบันทึก
ใช้เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น เช่น การขอดูรายการสารบบในแผ่นบันทึก การทำสำเนาแฟ้มข้อมูลซอฟต์แวร์ระบบพื้นฐานที่เห็นกันทั่วไป แบ่งออกเป็นระบบปฏิบัติการ และตัวแปลภาษา ซอฟต์แวร์ทั่งสองประเภทนี้ทำให้เกิดพัฒนาการประยุกต์ใช้งานได้ง่ายขึ้น

ซอฟท์แวร์ประยุกต์
การที่เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการที่มีคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ทำให้มีการใช้งานคล่องตัวขึ้น จนในปัจจุบันสามารถนำคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ติดตัวไปใช้งานในที่ต่าง ๆ ได้สะดวกการใช้งานคอมพิวเตอร์ต้องมีซอฟตืแวร์ประยุกต์ ซึ่งอาจเป็นซอฟต์แวร์สำเร็จที่มีผู้พัฒนาเพื่อใช้งานทั่วไปทำให้ทำงานได้สะดวกขึ้น หรืออาจเป็นซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ ซึ่งผู้ใช้เป็นผู้พัฒนาขึ้นเองเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการทำงานของตน
ซอฟต์แวร์สำเร็จในบรรดาซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่มีใช้กันทั่วไป ซอฟต์แวร์สำเร็จ (package) เป็นซอฟต์แวร์ที่มีความนิยมใช้กันสูงมาก ซอฟต์แวร์สำเร็จเป็นซอฟต์แวร์ที่บริษัทพัฒนาขึ้น แล้วนำออกมาจำหน่าย เพื่อให้ผู้ใช้งานซื้อไปใช้ได้โดยตรง ไม่ต้องเสียเวลาในการพัฒนาซอฟต์แวร์อีก ซอฟต์แวร์สำเร็จที่มีจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป และเป็นที่นิยมของผู้ใช้มี 5 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ ซอฟต์แวร์ประมวลคำ (word processing software) ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน (spread sheet software) ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล (data base management software) ซอฟต์แวร์นำเสนอ (presentation software) และซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูล (data communication software)

ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ    การประยุกต์ใช้งานด้วยซอฟต์แวร์สำเร็จมักจะเน้นการใช้งานทั่วไป แต่อาจจะนำมาประยุกต์โดยตรงกับงานทางธุรกิจบางอย่างไม่ได้ เช่นในกิจการธนาคาร มีการฝากถอนเงิน งานทางด้านบัญชี หรือในห้างสรรพสินค้าก็มีงานการขายสินค้า การออกใบเสร็จรับเงิน การควบคุมสินค้าคงคลัง ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะสำหรับงานแต่ละประเภทให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้แต่ละรายซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะมักเป็นซอฟต์แวร์ที่ผู้พัฒนาต้องเข้าไปศึกษารูปแบบการทำงานหรือความต้องการของธุรกิจนั้น ๆ แล้วจัดทำขึ้น โดยทั่วไปจะเป็นซอฟต์แวร์ที่มีหลายส่วนรวมกันเพื่อร่วมกันทำงาน ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะที่ใช้กันในทางธุรกิจ เช่น ระบบงานทางด้านบัญชี ระบบงานจัดจำหน่าย ระบบงานในโรงงานอุตสาหกรรม บริหารการเงิน และการเช่าซื้อความต้องการของการใช้คอมพิวเตอร์ในงานทางธุรกิจยังมีอีกมาก ดังนั้นจึงต้องมีความต้องการผู้พัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะต่าง ๆ อีกมากมาย


บทที่4 คอมพิวเตอร์วอฟต์แวร์ (Computer Software) เรื่องที่1 ซอฟต์แวร์คืออะไร (What is Software)

  เรื่องที่1 ซอฟต์แวร์คืออะไร (What is Software)




           ซอฟต์แวร์ (software) หมายถึงชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงหมายถึงลำดับขั้นตอนการทำงานที่เขียนขึ้นด้วยคำสั่งของคอมพิวเตอร์ คำสั่งเหล่านี้เรียงกันเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จากที่ทราบมาแล้วว่าคอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่ง การทำงานพื้นฐานเป็นเพียงการกระทำกับข้อมูลที่เป็นตัวเลขฐานสอง ซึ่งใช้แทนข้อมูลที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพ หรือแม้แต่เป็นเสียงพูดก็ได้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์จึงเป็นซอฟต์แวร์ เพราะเป็นลำดับขั้นตอนการทำงานของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งทำงานแตกต่างกันได้มากมายด้วยซอฟต์แวร์ที่แตกต่างกัน ซอฟต์แวร์จึงหมายรวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกประเภทที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้การที่เราเห็นคอมพิวเตอร์ทำงานให้กับเราได้มากมาย เพราะว่ามีผู้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาให้เราสั่งงานคอมพิวเตอร์ ร้านค้าอาจใช้คอมพิวเตอร์ทำบัญชีที่ยุ่งยากซับซ้อน บริษัทขายตั๋วใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในระบบการจองตั๋ว คอมพิวเตอร์ช่วยในเรื่องกิจการงานธนาคารที่มีข้อมูลต่าง ๆ มากมาย คอมพิวเตอร์ช่วยงานพิมพ์เอกสารให้สวยงาม เป็นต้น การที่คอมพิวเตอร์ดำเนินการให้ประโยชน์ได้มากมายมหาศาลจะอยู่ที่ซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์จึงเป็นส่วนสำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ หากขาดซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถทำงานได้ ซอฟต์แวร์จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น และมีความสำคัญมาก และเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่ทำให้ระบบสารสนเทศเป็นไปได้ตามที่ต้องการ

วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2558

คำศัพท์บทที่3

คำศัพท์บทที่3

1.Hardware ฮาร์ดแวร์สิ่งที่จับต้องได้ของคอมพิวเตอร์

2.Tape  เทป

3.Direct โดยตรง

4.Drive ข้อมูล

5.Computer คอมพิวเตอร์

6.Station สถานี

7.Work งาน

8.Micro ขนาดเล็ก

9.Personal บุคคล

10.Access ข้อมูล

บทที่3 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ (Computer Hardware) เรื่องที่2 การจัดเก็บข้อมูลด้วยเทปแม่เหล็ก

 เรื่องที่2 การจัดเก็บข้อมูลด้วยเทปแม่เหล็ก




การจัดเก็บข้อมูลด้วยเทปแม่เหล็ก
         เทปแม่เหล็กมีลักษณะคล้ายกับเทปบันทึกเสียงที่ใช้ทั่วไป การเข้าถึงข้อมูลแม่เหล้กจะเป็นการเข้าถึงข้อมูลแบบตามลำดับ กล่าวคือ ถ้าต้องใช้งานข้อมูลที่ 500 ของแม่เหล็ก Tape Drive จะต้องอ่านข้อมูลที่499 ก่อน ซึ่งแตกต่างจากวิธีการเข้าถึงข้อมูลโดยตรง Direct Access ของจานแม่เหล็ก จำแนกได้ 2 ประเภทคือ


1.คาร์ทริดจ์เทป เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับทำสำเนา มีความจุ ประมาณ 120MB ถึง 5GB ข้อดีของ คาร์ทริดจ์เทป คือถ้าข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ได้รับความเสียหาย ก็สามารถนำข้อมูลสำรองไว้มาติดตั้งได้ในเวลาอันรวดเร็ว


2.ม้วนเทปแม่เหล็ก เป็นอุปกรณ์ที่สามารถบันทึกข้อมูลได้ประมาณ 1600-6400 ต่อนิ้ว นิยมใช้กับคอมพิวเตอร์ขนาดกลางและขนาดใหญ่ เช่นเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันได้รับความนิยมน้อยลง































บทที่3 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ (Computer Hardware) เรื่องที่1 ประเภทของคอมพิวเตอร์(Types of Computer Systems)

 เรื่องที่1 ประเภทของคอมพิวเตอร์(Types of Computer Systems)











   
       ระบบคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมีรูปร่างหลายขนาด หลายประเภท เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วตามความต้องการของผู้ใช้ จะได้เห็นว่า ปัจจุบันรูปแบบของคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กมาก เช่น คอมพิวเตอร์มือถือช่วยงานส่วนบุคคล Personal Digital Assistant PDA มีการผสมผสานกลมกลืนเข้ากับระบบโทรศัพท์มือถือนอกจากนี้ก็ยังมีคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เช่น เมนเฟรมคอมพิวเตรอ์ ดังนั้น ลำดับของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีการใช้งานกันอยู่ตอนนี้ คือ คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (Mainframe) , คอมพิวเตอร์ขนาดกลาง (Midrange) และไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer)
  • ระบบไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer)
  • คอมพิวเตอร์สถานีงาน (Workstation computers or Technical workstation)
  • คอมพิวเตอร์บริการเครือข่าย (Network Servers)
  • คอมพิวเตอร์ผู้ช่วยงานดิจิทัลส่วนบุคคล (Personal Digital Assistants)
  • ระบบเมนเฟรมคอมพิวเตอร์
  • ระบบซุปเปอร์คอมพิวเตอร์




































คำศัพท์บทที่2

คำศัพท์บทที่2

1.Electronic mail   จดหมายอิเล็กทรอนิกส์

2.Marketing   ตลาด

3.Advertising  โฆษณา

4.Information  สารสนเทศ

5.Uses  ผู้ใช้

6.Creating  จัดทำ

7.Company  บริษัท

8.Competing  การแข่งขัน

9.Building  สร้าง

10.Knowledge  ความรู้

บทที่2การแข่งขันด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ (Competing with Information Technology) เรื่องที่ 2 การสร้างบริษัทเสมือนจริง (Creating a virtual Company)

 เรื่องที่ 2 การสร้างบริษัทเสมือนจริง (Creating a virtual Company)




          คือ การพัฒนาเว็บไซต์ขึ้นมาเป็นตัวเเทนของบริษัทนั่นเองเพื่อให้ผู้บริการ วิศวกร นักวิทยาศาสตร์ นักเขียน นักวิจัย และผู้ชำนาญในด้านอื่นๆสามารถทำงานร่วมกันได้ เพื่อให้ได้บริการที่ดี โดยไม่ต้องมาประชุมพบปะ

1.กลยุทธ์ของบริษัทเสมือนจริง มีทั้งการใช้ อินเทอร์เน็ค เอ็กทราเน็ต และอินเตอร์เน็ต เพื่อให้องค์กรบรรลุวัตถุประสงค์

2.ระบบการทำงานของบริษัทซิสโก้ บริษัทซิสโก้มีการสร้างกระบวนการผลิตเสมือนจริง เพื่อสามารถจัดการดำเนินการมีการเชื่อมโยงกับร้านค้าและหุ้นส่วนเป็นต้น

3.สตีลเคสอินน์ เป็นบริษัทเฟอร์นิเจอร์ มีการสร้างบริษัทเสมือนจริงเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า เช่น มีการสร้างแคตตาล็อก และให้ลูกค้าสามารถสั่งซื้อได้ผ่านระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์นอกจากนี้ยังสารถจัดการด้านการติดตาม การจัดการด้านการเงินการตลาดเป็นต้น


















บทที่2การแข่งขันด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ (Competing with Information Technology) เรื่องที่1 การใช้กลยุทธ์การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Strategic Uses of IT)

เรื่องที่1 การใช้กลยุทธ์การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Strategic Uses of IT)






       การใช้กลยุทธ์การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มีตัวอย่าง เช่น บางบริษัทนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปประยุกต์ใช้ในการตรอกบัตรพนักงานประจำวันนั่นเอง หรือ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ การบริการ ทำให้บริษัทมีความสารถในการแข่งขันได้ เช่น

  • การทำตลาดผ่าน Electronic mail
  • การโฆษณาขายสินค้า (Marketing and Advertising)
  • การขายสารสนเทศ (Sale Information)






คำศัพท์บทที่1

คำศัพท์บทที่1

1.Foundation Concepts รากฐานแนวความคิด

2.Management การจัดการ

3.System ระบบ

4.Concepts  แนวความคิด

5.Information Technology เทคโนโลยีสารสนเทศ

6.Business Applications การประยุกต์ใช้ในธุรกิจ

7.Development Process กระบวนการในการพัฒนา

8.Business ธุรกิจ

9.Process กระบวนการ

10.Management Challenges  ความท้าทายในด้านการจัดการ

บทที่ 1 พื้นฐานของระบบสารสนเทศในธุรกิจ เรื่องที่ 2 ขอบข่ายงานสำหรับผู้เชี่ยวชาญในธุรกิจ (A Framework for Business Professionais)

เรื่องที่ 2 ขอบข่ายงานสำหรับผู้เชี่ยวชาญในธุรกิจ (A Framework for Business Professionais)





รากฐานแนวความคิด (Foundation Concepts) 
           หมายถึง รากฐานพฤติกรรม หรือแนวความคิดเกี่ยวกับเทคนิค เพื่อที่จะทำให้มีความเข้าใจว่า ระบบสาสรสนเทศช่วยปฏิบัติงาน การบิหาร การตัดสินใจ

เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Teachnology)
          เรื่องหลักของแนวความคิดนี้คือ ต้องรู้จักฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ การจัดการฐานข้อมูลหรือเทคโนโลยีการประมวลผลข้อมูลต่าง ๆ

การประยุกต์ใช้ในธุรกิจ (Business Applications)
        หลักการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อนำไปปฎิบัติการ บริหารจัดการ และใช้เป็นข้อได้เปรียบขององค์กร เครือข่ายสังคมออนไลน์

กระบวนการในการพัฒนา (Development Process)
       ความหมายของระบบสารสนเทศนี้ คือ ทำอย่างไรผู้ใช้สารสนเทศนี้จะสามารถพัฒนาและแก้ไขปัญหาทางธุรกิจได้

ความท้าทายในด้านการจัดการ (Management Challenges)
        หมายถึง ประสิทธิภาพในการจัดการหาเรื่องทรัพยากร และการใช้กลยุทธ์ทางธุรกิจ เพื่อนำมาจัดการเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศในองค์กร  




































บทที่ 1 พื้นฐานของระบบสารสนเทศในธุรกิจ เรื่องที่1 ระบบสารสนเทศคืออะไร (What is an Information System)

 เรื่องที่1 ระบบสารสนเทศคืออะไร (What is an Information System)







ระบบสารสนเทศ (Information System)

     คือ การรวบรวมเอาหลายอย่างมาผสมผสานกันไม่ว่าคน ฮาร์ดวร์ ซอฟต์แวร์ เครือข่ายการสื่อสาร ซึ่งมีการจัดเก็บและเรียกออกมาใช้งาน และการเผยแพร่สารสนเทศในองค์กร

เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technologies)
    
       องค์ประกอบของฮาร์ดแวร์ที่มีความสำคัญในการทำงานของระบบ ในทางทฤษฏีนั้น ระบบสาสรเทศจะมีการใช้องค์ประกอบของฮาร์ดแวร์ด้วยเหมือนกัน เช่น ดินสอและกระดาษ หรือแฟ้มที่เก็บข้อมูลในคอมพิวเตอร์